ชมรมช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค แหล่งรวมความรู้ งานซ่อมโน๊ตบุ๊ค โหลดไบออส โหลดวงจร เรียนซ่อมโน๊ตบุ๊ค สอนซ่อมโน๊ตบุ๊ค

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ค้นหา
ดู: 19947|ตอบกลับ: 28

[อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์] มาทำความรู้จักกับ (คาปาซิเตอร์ หรือ คอนเด็นเซอร์ )

  [คัดลอกลิงก์]
คาปาซิเตอร์ หรือ คอนเด็นเซอร์ คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่เก็บประจำไฟฟ้าและคายประจุไฟฟ้า ให้กับวงจร คุณสมบัติการกรองไฟดีซีให้เรียบ (Filter) การถ่ายทอดสัญญาณ และเชื่อมโยงระหว่างวงจร (Coupling) การกรองความถี่ (Bypass) การกั้นการไหลของกระแสไฟดีซี (Blocking) เป็นต้น

นิยาม : เป็นอุปกรณ์ที่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้ มีการใช้งานในวงจรกรองแรงดัน วงจรกรองความถี่ และยังใช้ในการถ่ายทอดสัญญาณ ( Coupling ) เป็นต้น * ค่าความจุไฟฟ้า ( Capacitance ) คือ ค่าของตัวเก็บประจุที่สามารถเก็บประจุไฟฟ้าได้มากหรือน้อยมีหน่วยเป็นฟารัด ( Farad : F )



สัญลักษณ์

ลักษณะทางกายภาพ
ตัวเก็บประจุนั้น ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า (หรือเพลต) 2 ขั้ว แต่ละขั้วจะเก็บประจุชนิดตรงกันข้ามกัน ทั้งสองขั้วมีสภาพความจุ และมีฉนวนหรือไดอิเล็กตริกเป็นตัวแยกคั่นกลาง ประจุนั้นถูกเก็บไว้ที่ผิวหน้าของเพลต โดยมีไดอิเล็กตริกกั้นเอาไว้ เนื่องจากแต่ละเพลตจะเก็บประจุชนิดตรงกันข้าม แต่มีปริมาณเท่านั้น ดังนั้นประจุสุทธิในตัวเก็บประจุ จึงมีค่าเท่ากับ ศูนย์ เสมอ


ประกอบ ด้วยแผ่นโลหะที่ทำเป็นแผ่นเพลต 2 แผ่นมาวางชิดกันมีฉนวนที่ผลิตมาจากวัสดุต่างชนิดกันมากั้นกลางแผ่นตัวนำทั้ง สองข้างเรียกว่า “ไดอิเล็กตริก”





คุณสมบัติทางไฟฟ้าของตัวเก็บประจุ

1. การทำงานของตัวเก็บประจุกับไฟดีซี ตัวเก็บประจุจะทำการเก็บประจุและคายประจุเมื่อทำงานกับไฟดีซี การเก็บประจุ (Charge) และ การคายประจุ (Discharge)

การเก็บประจุ
การ เก็บประจุ คือ การเก็บอิเล็กตรอนไว้ที่แผ่นเพลตของตัวเก็บประจุ เมื่อนำแบตเตอรี่ต่อกับตัวเก็บประจุ อิเล็กตรอนจากขั้วลบของแบตเตอรี่ จะเข้าไปรวมกันที่แผ่นเพลต ทำให้เกิดประจุลบขึ้นและยังส่งสนามไฟฟ้าไป ผลักอิเล็กตรอนของแผ่นเพลตตรงข้าม ซึ่งโดยปกติในแผ่นเพลตจะมี ประจุเป็น + และ - ปะปนกันอยู่ เมื่ออิเล็กตรอนจากแผ่นเพลตนี้ถูก ผลักให้หลุดออกไปแล้วจึงเหลือประจุบวกมากกว่าประจุลบ ยิ่งอิเล็กตรอนถูกผลักออกไปมากเท่าไร แผ่นเพลตนั้นก็จะเป็นบวกมากขึ้นเท่านั้น

การคายประจุ
ตัว เก็บประจุที่ถูกประจุแล้ว ถ้าเรายังไม่นำขั้วตัวเก็บประจุมาต่อกัน อิเล็กตรอนก็ยังคงอยู่ที่แผ่นเพลต แต่ถ้ามีการครบวงจร ระหว่างแผ่นเพลตทั้งสองเมื่อไร อิเล็กตรอนก็จะวิ่งจากแผ่นเพลตทางด้านลบ ไปครบวงจรที่แผ่นเพลตบวกทันที เราเรียกว่า “การคายประจุ”

2. การทำงานของคาปาซิเตอร์กับไฟฟ้ากระแสสลับ เมื่อนำคาปาซิเตอร์ไปต่อเข้ากับไฟไฟ้ากระแสสลับ จะมีการทำงานดังนี้ในครึ่งไซเกิลแรกตัวเก็บประจุจะทำการเก็บประจุ ทำให้มีกระแสไหลจากเฟสบวกไปยังแผ่นโลหะ A ทำการเก็บประจุ ผ่านโลหะแผ่น B ไปครบวงจรที่แหล่งจ่าย ในครึ่งไซเกิลหลัง เมื่อไฟเอซีสลับเฟส ตัวเก็บประจุที่เก็บประจุไว้ก็จะคายประจุออก แล้ว เก็บประจุใหม่ในทิศทางตรงกันข้าม การทำงานจะสลับกันไปมาตลอดเวลาตามไซเกิลของไฟเอซี ลักษณะของหลอดไฟจะสว่างตลอดทั้งในครึ่งไซเกิลแรก และ ครึ่งไซเกิลหลัง ไฟเอซีจะไหลผ่านคาปาซิเตอร์ได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความถี่ของไฟเอซีและ ค่าของตัวเก็บประจุ

        o ถ้าความถี่ของไฟเอซี สูง จะไหลผ่านได้มาก ความถี่ต่ำจะไหลได้น้อย
        o ถ้าคาปาซิเตอร์ค่ามากการเก็บประจุและคายประจุได้มาก ไฟเอซีก็ผ่านได้มาก
        o ถ้าคาปาซิเตอร์ค่าน้อยการเก็บประจุและคายประจุน้อย ไฟเอซีก็ผ่านได้น้อย

 เจ้าของ| โพสต์ 23-11-2012 12:01:11 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ชนิดของตัวเก็บประจุ

ชนิดของตัวเก็บประจุแบ่งตามวัสดุการใช้งานแบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

ตัวเก็บประจุชนิดคงที่ Fixed capacitor

Capacitor ชนิดนี้จะมีขั้วบวกและขั้วลบบอกไว้ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบกลมดังนั้น การนำไปใช้งานจะต้องคำนึงถึงการต่อขั้วให้กับ Capacitor ด้วย จะสังเกตขั้วง่าย ๆ ขั้วไหนที่เป็นขั้วลบจะมีลูกศรชี้ไปที่ขั้วนั้น และในลูกศรจะมีเครื่องหมายลบบอกเอาไว้

ตัวเก็บประจุแบบกระดาษ
(Paper capacitor)




ภาพนี้ได้ถูกเปลี่ยนขนาด ขนาดต้นฉบับคือ 818x358 and weighs 47KB ต้องการดูภาพเต็มขนาดคลิกที่นี่...


ตัวเก็บประจุแบบเปเปอร์ นำไปใช้งานซึ่งต้องการค่าความต้านทานของฉนวนที่มี ค่าสูง และ มี เสถียรภาพต่ออุณหภูมิสูงได้ดี มีค่าความจุที่ดีใน ย่านอุณหภูมิที่กว้าง

ตัวเก็บประจุแบบไมก้า (Mica capacitor)
ตัว เก็บประจุแบบไมก้านี้ จะมีเสถียรภาพต่ออุณหภูมิ และ ความถี่ดี มีค่าตัวประกอบการสูญเสียต่ำ และ สามารถทำงาน ได้ดีที่ความถี่สูง จะถูกนำมาใช้ในงานหลายอย่าง เช่น ในวงจะจูนวงจรออสซิสเตอร์ วงจรกรองสัญญาณ และวงจรขยาย ความ ถี่วิทยุกำลังสูง จะไม่มีการผลิตตัวเก็บประจุแบบไมก้าค่าความจุสูงๆ ออกมา เนื่องจากไมก้ามีราคาแพง จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการ ผลิตสูงเกินไป



ตัวเก็บประจุแบบเซรามิก (Ceramic capacitor)
เป็นคาปาซิเตอร์ราคา ถูกมีใช้กันอยู่ทั่วไป เหมาะสำหรับงานคัปปลิ้งความถี่วิทยุ มีการสูญเสียมากมีค่าความจุต่ำสุดอยู่ที่ 1 ไมโครฟารัด

ตัวเก็บ ประจุชนิดเซรามิก โดยทั่วไปตัวเก็บประจุชนิดนี้มีลักษณะกลมๆ แบนๆ บางครั้งอาจพบแบบสี่เหลี่ยมแบนๆ ส่วนใหญ่ตัวเก็บประจุชนิดนี้ มีค่าน้อยกว่า 1 ไมโครฟารัด และเป็นตัวเก็บประจุชนิดที่ไม่มีขั้ว และสามารถทนแรงดันได้ประมาณ 50-100 โวลต์ค่าความจุของตัวเก็บประจุชนิดเซรามิกที่มีใช้กันในปัจจุบันอยู่ในช่วง 1 พิโกฟารัด ถึง 0.1 ไมโครฟารัด

ตัวเก็บประจุชนิดเซรามิก มีขนาดเล็ก ไม่มีขั้ว ค่าความจุต่ำ อยู่ในช่วง พิโก - นาโน (pF - nF )โดยทั่วไปตัวเก็บประจุชนิดนี้มีลักษณะกลมๆ แบนๆ บางครั้งอาจพบแบบสี่เหลี่ยมแบนๆ ส่วนใหญ่ตัวเก็บประจุชนิดนี้ มีค่าน้อยกว่า 1 ไมโครฟารัด และเป็นตัวเก็บประจุชนิดที่ไม่มีขั้ว (ไม่ต้องคำนึงเวลาใช้งาน) และไม่ค่อยระบุการใช้ แรงดัน แต่ปกติจะ ใช้แรงดันที่ 50V 100V 1000V ขึ้นอยู่กับขนาดของมัน (ปกติ ทนแรงดันที่ 50 โวลท์ ) จะใช้ในงานกรองความถี่ พบมากในพวกเครื่องรับ-ส่ง และวงจรทั่วไป
 เจ้าของ| โพสต์ 23-11-2012 12:02:09 | ดูโพสต์ทั้งหมด
เซรามิคคาปาซิเตอร์มีด้วยกัน 2 แบบคือ

เซรามิคแบบจาน (Disc Ceramic Capacitor) ลักษณะการสร้างเป็นการเคลือบโลหะด้วยสารละลายเงินที่พื้นผิวทั้ง 2 ด้าน ของจานเซรามิคแผ่นบาง ๆ ที่มีค่าไดอิเล็กตริกต่ำ บัดกรีขาออกมาทั้งสองด้านแล้ว นำไปเคลือบผิวภายนอกด้วยเรซิน หรือ อีพ๊อกซี มีค่าความจุ 0.75 pF-2.2 m F อัตราการทนแรงไฟ 50 V – 6 KVDC ค่าผิดพลาด ± 5 – 10 %

เซรามิคแบบหลายชั้น (Monolithic Multilayer Ceramic: MLC) ลักษณะเป็นการเคลือบฟิล์มโลหะชั้นบาง ๆ ของเซรามิคที่มีค่าไดอิเล็กตริกสูง วางซ้อนกันเป็นชั้น ๆ แล้วอัดแน่นเป็นชิ้นเดียวส่วนมากจะเป็นแบบชิป (Chip) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ประเภทติดผิวหน้า (Surface Mount) ขั้วต่อทำจากโลหะตะกั่วผสมกับดีบุกให้คุณภาพสูง มีค่าความจุด 10 pF – 0.56 m F อัตราการทนแรงไฟ 200 VDC ค่าผิดพลาด ± 5 – 10 %



ตัวเก็บประจุแบบอิเล็กโทรไลติก (Electrolytic capacitor)
เป็นคาปาซิเตอร์ที่มีค่าความผิดพลาดสูงมาก แต่ต้องใช้เพราะว่ามีค่าความจุที่สูง มีโครงสร้างใกล้เคียงกับแบตเตอรี่ มีขั้วบวกและลบ นิยมใช้กับงานความถี่ต่ำทั่วๆไป หรือใช้สำหรับไฟตรง สารที่นำมาใช้ทำแผ่นตัวนำในคาปาซิเตอร์แบบนี้จะเป็นสารอลูมิเนียมโดยมีน้ำยา เคมีอิเล็กโตไลต์ติกทำหน้าที่เป็นไดอิเล็กตริก ช่วยเร่งปฎิกิริยาเคมีทำให้ประจุเกิดได้มากกว่าปกติ

ตัวเก็บประจุ ชนิดอิเล็กทรอไลติก
ตัวเก็บประจุชนิดนี้ต้องระวังในการนำไปใช้งานด้วย เพราะมีขั้วที่แน่นอนพิมพ์ติดไว้ด้าน ข้างตัวถังอยู่แล้ว ถ้าป้อนแรงดันให้กับตัวเก็บประจุผิดขั้วละก็ อาจเกิดความเสียหายกับตัวมันและอุปกรณ์ที่ประกอบร่วมกับตัวมันได้ ขั้วของตัวเก็บประจุชนิดนี้สังเกตได้ง่ายๆ เมื่อตอนซื้อมา คือ ขาที่ยาวจะเป็นขั้วบวก และขาที่สั้นจะเป็นขั้วลบ

ตัวเก็บประจุชนิด นี้จะมีค่าความจุอยู่ในช่วง1 uF - 30,000 uFขึ้นไป และมีการใช้งานที่ แรงดัน ตามที่ระอยู่บนตัวมันอยู่แล้วเช่น 10V , 16V , 25V ,50V 100V เรานิยมใช้ตัวเก็บประจุชนิดนี้ในวงจรทั่วไป ตัวเก็บประจุ ชนิดนี้มีใช้ทั้งแบบมีขั้ว และ ไม่มีขั้วค่าความจุ และแรงดันใช้งาน จะพิมพ์ตัวเก็บประจุเลย และจะมีแถบสีขาวด้านข้างซึ่งจะแสดง ตำแหน่งขาลบ(-) ของตัวเก็บประจุ

ตัวเก็บประจุชนิดอิเล็กทรอไลติก ตัวเก็บประจุชนิดนี้ต้องระวังในการนำไปใช้งานด้วย เพราะมีขั้วที่แน่นอนพิมพ์ติดไว้ด้าน ข้างตัวถังอยู่แล้ว ถ้าป้อนแรงดันให้กับตัวเก็บประจุผิดขั้วละก็ อาจเกิดความเสียหายกับตัวมันและอุปกรณ์ที่ประกอบร่วมกับตัวมันได้ ขั้วของตัวเก็บประจุชนิดนี้สังเกตได้ง่ายๆ เมื่อตอนซื้อมา คือ ขาที่ยาวจะเป็นขั้วบวก และขาที่สั้นจะเป็นขั้วลบ





ตัวเก็บประจุแบบน้ำมัน (Oil capacitor)
ตัวเก็บประจุแบบโพลีสไตลีน (Polyethylene capacitor)
เป็น คาปาซิเตอร์ชั้นดีที่ให้การสูญเสียต่ำที่สุด เมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ รวมไปถึงกระแสรั่วไหลน้อยมากๆ เหมาสำหรับงานคัปปลิ้งความถี่วิทยุหรือในวงจรจูน



 เจ้าของ| โพสต์ 23-11-2012 12:02:47 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ตัวเก็บประจุ แทนทาลั่ม (Tantalum capacitor)
ตัวเก็บประจุแบบแทน ทาลั่ม จะให้ค่าความจุสูงในขณะที่ตัวถังที่บรรจุมีขนาดเล็ก และมีอายุในการเก็บรักษาดีมาก ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่มนี้มีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น ชนิด โซลิต ( solid type ) ชนิด ซินเทอร์สลัก ( sintered slug ) ชนิดฟอลย์ธรรมดา ( plain foil ) ชนิดเอ็ชฟอยล์ ( etched foil ) ชนิดเว็ทสลัก ( wet slug ) และ ชนิดชิป ( chip ) การนำไปใช้งานต่างๆ ประกอบด้วยวงจรกรองความถี่ต่ำ วงจรส่งผ่านสัญญาณ ชนิด โซลิตนั้นไม่ไวต่ออุณหภูมิ และ มีค่าคุณ สมบัติระหว่างค่าความจุอุณหภูมิต่ำกว่า ตัวเก็บประจุ แบบอิเล็กทรอไลติกชนิดใด ๆ สำหรับงานที่ตัวเก็บประจุแบบแทนทาลั่มไม่เหมาะกับ วงจรตั้งเวลาที่ใช้ RC ระบบกระตุ้น ( triggering system ) หรือ วงจรเลื่อนเฟส ( phase - shift net work ) เนื่องจากตัวเก็บประจุแบบนี้ มีค่าคุณสมบัติของการดูดกลืนของไดอิเล็กตริก สูง ซึ่งหมายถึงเมื่อตัวเก็บประจุถูกคายประจุ สารไดอิเล็กตริกยังคงมีประจุหลงเหลืออยู่ ดังนั้นเม้ว่าตัวเก็บประจุที่มีคุณสมบัติของ การดูดกลืนของสารไดอิเล็กตริกสูงจะถูกคายประจุประจุจนเป็นศูนษ์แล้วก็ตาม จะยังคงมีประจุเหลืออยู่เป็นจำนวนมากพอ ที่ จะทำ ให้เกิดปัญหาในวงจรตั้งเวลา และ วงจรอื่นที่คล้ายกัน

คาปาซิเตอร์แบบ นี้ถูกคิดขึ้นมาเพื่อใช้งานแทนอิเล็กโตรไลต์ติกคาปาซิเตอร์ แม้การสูญเสียจะใกล้เคียงกับอิเล็กโตรไลต์ติกคาปาซิเตอร์ แต่มีค่าความผิดพลาดน้อยกว่า มีมากที่สุดในโทรศัพท์มือถือ




ตัวเก็บประจุแบบไมลา (Milar capacitor)

นำมาใช้แทนคาปาซิเตอร์ แบบเซรามิค เพราะมีค่าความผิดพลาดและกระแสรั่วไหลน้อยกว่าในขณะที่สามารถทนแรงดันได้ เท่ากัน ตัวถังของไมลาร์เล็กกว่าและค่าความจุสูงกว่าเซรามิค



ตัวเก็บประจุแบบไบโพลา (Bipolar capacitor)
ไบโพลาร์คาปาซิเตอร์ (Bipolar Capacitor) หรือไบแคป(Bi-Cap) เหมือนกับแบบอิเล็กโตรไลต์ติกคาปาซิเตอร์ แต่ไม่มีขั้ว นิยมใช้กันมากในวงจรเครื่องเสียง ขยายเสียง ภาคจ่ายไฟ



ตัวเก็บประจุแบบโพลีโพรไพลีน (Poiypropyrene)
โพลีเอสเตอร์คาปาซเตอร์ (Polyester Capacitor)
ลักษณะ การใช้งานและคุณสมบัติเช่นเดียวกันกับแบบเปเปอร์ โดยไดอิเล็กตริคทำมาจากโพลีเอสเตอร์หรือพวกพลาสติกตัวนำ ดังนั้นการสูญเสียจึงน้อยกว่าเปเปอร์



โพลีคาร์บอเนตคาปาซิเตอร์ (Polycarbonate Capacitor)

เป็น คาปาซิเตอร์ที่มีค่าความจุสูงกว่าชนิดโพลีเอสเตอร์เล็กน้อย คุณสมบัติคล้ายคลึงกันใช้แทนกันได้ ตัวของคาร์ปาซิเตอร์แบบนี้จะเล็กกว่าเล็กน้อยและมีเปอร์เซ็นต์การสูญเสีย น้อยกว่าโพลีเอสเตอร์ประมาณ 20 - 30 เท่า



ซิลเวอร์ไมก้าคาปาซิเตอร์ (Silver Mica Capacitor)

เหมาะที่จะ ใช้กับวงจรความถี่สูง เช่นความถี่วิทยุเพราะมีค่าความจุประมาณ 10pF - 10nF เป็นคาปาซิเตอร์ชั้นดีอีกชนิกหนึ่ง เปอเซ็นต์ความผิดพลาดแทบไม่มีเลย

 เจ้าของ| โพสต์ 23-11-2012 12:04:05 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ฟีดทรูคาปาซิเตอร์ (Feed-through Capacitor)
เป็นคาปาซิเตอร์ที่ใช้ในการกรองความถี่รบกวน



ตัวเก็บประจุชนิดเปลี่ยนแปลงค่าได้ แบ่งได้ 2 ชนิด

วาริเอเบิ้ลคาปาซิเตอร์ (Variable Capacitor) เป็นคาปาซิเตอร์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงค่าความจุในตัวได้ เพื่อใช้ในการจูนรับความถี่ของเครื่องรับวิทยุ
โครงสร้างทำมาจากแผ่นโลหะมาวางซ้อนกัน ชุดหนึ่งติดตั้งคงที่ อีกชุดหนึ่งยึดติดกับแกนหมุน มีแผ่นอากาศเป็นไดอิเล็กตริค






เป็น Capacitor ชนิดที่ไม่มีค่าคงที่ ซึ่งจะมีการนำวัสดุต่างๆ มาสร้างขึ้นเป็น Capacitor โดยทั่วไปจะมีค่าความจุไม่มากนัก โดยประมาณไม่เกิน 1 ไมโครฟารัด (m F) Capacitor ชนิดนี้เปลี่ยนค่าความจุได้ จึงพบเห็นอยู่ ในเครื่องรับวิทยุต่าง ๆ ซึ่งเป็นตัวเลือกหาสถานีวิทยุโดยมีแกนหมุน Trimmer หรือ Padder เป็น Capacitor ชนิดปรับค่าได้ ซึ่งคล้าย ๆ กับ Varible Capacitor แต่จะมีขนาดเล็กกว่า การใช้ Capacitor แบบนี้ถ้าต่อในวงจรแบบอนุกรมกับวงจรเรียกว่า Padder Capacitor ถ้านำมาต่อขนานกับวงจร เรียกว่า Trimmer

ทริมเมอร์คาปาซิเตอร์ และ แพดเดอร์คาปาซิเตอร์ (Trimmer and Padder) เป็น คาปาซิเตอร์ชนิดเปลี่ยนแปลงค่าความจุได้เพียงเล็กน้อย เพราะโครงสร้างเป็นเพียงโลหะเล็กๆ วางซ้อนกันมีแผ่นไมก้ากั้นกลาง มีสกรูยึด ปรับค่าโดยการยึดหรือคลายสกรู ถ้าต่อขนาดอยู่กับวงจรนิยมเรียกว่า ทริมเมอร์ ถ้าต่ออันดับนิยมเรียกว่า แพดเดอร์



ขอขอบคุณสาระดีๆจาก
http://www.basiclite.com
 เจ้าของ| โพสต์ 23-11-2012 12:07:24 | ดูโพสต์ทั้งหมด
การประจุไฟหรือไฟที่ไหลผ่าน คอนเดนเซอร์ เปรียบเสมือนการใส่น้ำในท่อ มีการเก็บและปล่อยน้ำตลอดเวลา นำมาเปรียบเทียบกับการทำงานของการไหลของกระแสไฟฟ้าได้



คุณสมบัติทางไฟฟ้าของตัวเก็บประจุ

1. การทำงานของตัวเก็บประจุกับไฟดีซี ตัวเก็บประจุจะทำการเก็บประจุและคายประจุเมื่อทำงานกับไฟดีซี การเก็บประจุ (Charge) และ การคายประจุ (Discharge)

การเก็บประจุ
การ เก็บประจุ คือ การเก็บอิเล็กตรอนไว้ที่แผ่นเพลตของตัวเก็บประจุ เมื่อนำแบตเตอรี่ต่อกับตัวเก็บประจุ อิเล็กตรอนจากขั้วลบของแบตเตอรี่ จะเข้าไปรวมกันที่แผ่นเพลต ทำให้เกิดประจุลบขึ้นและยังส่งสนามไฟฟ้าไป ผลักอิเล็กตรอนของแผ่นเพลตตรงข้าม ซึ่งโดยปกติในแผ่นเพลตจะมี ประจุเป็น + และ - ปะปนกันอยู่ เมื่ออิเล็กตรอนจากแผ่นเพลตนี้ถูก ผลักให้หลุดออกไปแล้วจึงเหลือประจุบวกมากกว่าประจุลบ ยิ่งอิเล็กตรอนถูกผลักออกไปมากเท่าไร แผ่นเพลตนั้นก็จะเป็นบวกมากขึ้นเท่านั้น

การคายประจุ
ตัว เก็บประจุที่ถูกประจุแล้ว ถ้าเรายังไม่นำขั้วตัวเก็บประจุมาต่อกัน อิเล็กตรอนก็ยังคงอยู่ที่แผ่นเพลต แต่ถ้ามีการครบวงจร ระหว่างแผ่นเพลตทั้งสองเมื่อไร อิเล็กตรอนก็จะวิ่งจากแผ่นเพลตทางด้านลบ ไปครบวงจรที่แผ่นเพลตบวกทันที เราเรียกว่า “การคายประจุ”

2. การทำงานของคาปาซิเตอร์กับไฟฟ้ากระแสสลับ เมื่อนำคาปาซิเตอร์ไปต่อเข้ากับไฟไฟ้ากระแสสลับ จะมีการทำงานดังนี้ในครึ่งไซเกิลแรกตัวเก็บประจุจะทำการเก็บประจุ ทำให้มีกระแสไหลจากเฟสบวกไปยังแผ่นโลหะ A ทำการเก็บประจุ ผ่านโลหะแผ่น B ไปครบวงจรที่แหล่งจ่าย ในครึ่งไซเกิลหลัง เมื่อไฟเอซีสลับเฟส ตัวเก็บประจุที่เก็บประจุไว้ก็จะคายประจุออก แล้ว เก็บประจุใหม่ในทิศทางตรงกันข้าม การทำงานจะสลับกันไปมาตลอดเวลาตามไซเกิลของไฟเอซี ลักษณะของหลอดไฟจะสว่างตลอดทั้งในครึ่งไซเกิลแรก และ ครึ่งไซเกิลหลัง ไฟเอซีจะไหลผ่านคาปาซิเตอร์ได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความถี่ของไฟเอซีและ ค่าของตัวเก็บประจุ

        o ถ้าความถี่ของไฟเอซี สูง จะไหลผ่านได้มาก ความถี่ต่ำจะไหลได้น้อย
        o ถ้าคาปาซิเตอร์ค่ามากการเก็บประจุและคายประจุได้มาก ไฟเอซีก็ผ่านได้มาก
        o ถ้าคาปาซิเตอร์ค่าน้อยการเก็บประจุและคายประจุน้อย ไฟเอซีก็ผ่านได้น้อย
โพสต์ 23-11-2012 12:13:14 | ดูโพสต์ทั้งหมด
{:124:}{:124:}{:124:}  เป็นกำลังใจให้ผู้เสียสละ เวลาทำมาหากิน มาแบ่งปันความรู้ เป็นวิทยาทาน จะรอติดตามผลงานต่อไป

แสดงความคิดเห็น

งานเคลียร์ไม่ออกก็เลยมานั่งทำสมาธิ หาอะไรทำที่เป็นประโยชน์ชักหน่อย 555  โพสต์ 23-11-2012 12:25
โพสต์ 23-11-2012 13:48:07 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ผมติดตามกระทู้พี่อยู่ตลอด  ขอบคุณครับ สำหรับความรู้พื้นฐานอิเล็ค
โพสต์ 23-11-2012 15:27:17 | ดูโพสต์ทั้งหมด
{:102:} ขอบคุณมากครับ
 เจ้าของ| โพสต์ 23-11-2012 15:43:48 | ดูโพสต์ทั้งหมด
การอ่านค่าความจุของคาปาซิเตอร์
หน่วยความจุของคาปาซิเตอร์
   
คาปาซิเตอร์มีหน่วยเป็น ฟารัด (F) ไมโครฟารัด (uF) หรือ MFD และ นาโนฟารัด (nF)


ดังนั้น
        1 F   = 1,000,000 uF
        1 uF = 1,000 nF
        1 nF = 1,000 pF

การอ่านค่าความจุของคาปาซิเตอร์
    ตัวเก็บประจุจะบอกลักษณะอยู่ทั้งหมด 3 แบบ คือ

   1. บอกเป็นตัวเลขค่าความจุ
   2. บอกเป็นตัวเลข
   3. บอกเป็นแถบสี

การอ่านแบบที่บอกเป็นตัวเลข
คาปาซิเตอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีความจุสูง และบอกอัตราทนแรงดันไฟฟ้าสูงสุดมาด้วย



จากรูปสามารถอ่านได้
1500 ไมโครฟารัด
ทนแรงดันสูงสุดที่ 35 โวลท์



ตัวที่ 1 สามารถอ่านได้10 ไมโครฟารัด ทนแรงดันสูงสุดที่ 100 โวลท์
ตัวที่ 2 สามารถอ่านได้ 10 ไมโครฟารัด ทนแรงดันสูงสุดที่ 250 โวลท์

การอ่านแบบที่บอกเป็นตัวเลข

ค่า ของตัวเก็บประจุปกติมี 2 หน่วยด้วยกันคือ หน่วยไมโครฟารัด (uF) กับพิโกฟารัด (pF) ซึ่งการอ่านค่าวิธีนี้ในบางครั้ง ผู้ผลิตอาจบอกค่าความจุแต่เพียงตัวเลขอย่างเดียว ส่วนหน่วยนั้นเขาละกันเอาไว้ในฐานที่เข้าใจกัน

การบอกค่าแบบเป็นตัวเลขมีค่าน้อยกว่า 1 (ค่าที่พิมพ์บนตัวเก็บประจุ) ค่าที่อ่านได้ก็จะมีหน่วยเป็นไมโครฟารัด (uF) เช่น 0.1 หมายถึง 0.1 ไมโครฟารัด
การอ่านค่าแบบเป็นตัวเลขมีค่ามากกว่า 1 ค่าที่อ่านได้ก็จะมีหน่วยเป็นพิโกฟารัด (pF) เช่น 20 หมายถึง 20 พิโกฟารัด

ยก เว้นในกรณีที่มีหน่วยตามหลังเช่น 10uF ค่าที่อ่านได้เท่ากับ 10 ไมโครฟารัด และตัวเลขที่บอกค่าเกิน 2 หลัก เช่น 101 ไม่เท่ากับ 101 พิโกฟารัด แต่เราจะอ่านค่าโดยการแปรรหัสดังที่จะนำมากล่าวต่อไป

คาปาซิเตอร์ ชนิดนี้จะบอกเป็นตัวเลขมา 3 ตำแหน่งด้วยกัน โดยที่ ตัวที่หนึ่งจะเป็นตัวตั้งหลักที่หนึ่ง ตัวที่สองจะเป็นตัวตั้งหลักที่สอง และตัวเลขตัวที่สามจะเป็นตัวเติมเลขศูนย์ลงไป(หรือตัวคูณก็ได้) หน่วยที่ได้จะเป็นพิโกฟารัด เสมอ
ยกตัวอย่าง



1 0 และเติมศูนย์อีกสองตัว
จะได้
1000 pF หรือ 1 nF(หารด้วย1,000) หรือ 0.001 uF (หารด้วย 1,000,000)



อ่านได้ 100 pF



อ่านได้

150000 pF
150 nF
0.15 uF





ภาพนี้ได้ถูกเปลี่ยนขนาด ขนาดต้นฉบับคือ 786x495 and weighs 68KB ต้องการดูภาพเต็มขนาดคลิกที่นี่...


การอ่านค่า C แบบรวดเร็ว

หลักที่ 1 และ 2 เป็นตัวตั้ง
หลักที่ 3 เป็นตัวคูณ
หลักที่ 4 เป็นค่าความผิดพลาด เช่น K , H , J
กรณีหลักที่สาม คือ ตัวคูณ มีรายละเอียดดังนี้

หลักที่สามเป็น 0 ค่าตัวคูณ คือ 1
หลักที่สามเป็น 1 ค่าตัวคูณ คือ 10
หลักที่สามเป็น 2 ค่าตัวคูณ คือ 100
หลักที่สามเป็น 3 ค่าตัวคูณ คือ 1,000
หลักที่สามเป็น 4 ค่าตัวคูณ คือ 10,000
หลักที่สามเป็น 5 ค่าตัวคูณ คือ 100,000
หลักที่สามเป็น 6 ค่าตัวคูณ คือ ไม่ใช้
หลักที่สามเป็น 7 ค่าตัวคูณ คือ ไม่ใช้
หลักที่สามเป็น 8 ค่าตัวคูณ คือ 0.01
หลักที่สามเป็น 9 ค่าตัวคูณ คือ 0.1

หลักที่ 4 คือ ค่าความผิดพลาด มีรายละเอียดดังนี้

D ==> +/- 0.5 pF
F ==> +/- 1%
G ==> +/- 2%
H ==> +/- 3%
J ==> +/- 5%
K ==> +/- 10%
M ==> +/- 20%
P ==> +100% ,-0%
Z ==> +80%, -20%

ตัวอย่างเช่น ตัว C มีค่า 104K

10 x 10,000 = 100,000 pF หรือ 0.1 uF และมีค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ +/- 10%

ตัวอย่างเช่น ตัว C มีค่า 103K

10 x 1,000 = 10,000 pF หรือ 0.01 uF หรือ 10 nF และมีค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ +/- 10%

โดยที่…
1 micro = 1/1,000,000 ==> 1 uF
1 nano = 1/1,000,000,000 ==> 1 nF
1 pico = 1/1,000,000,000,000 ==> 1 pF
ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

ปิด

แจ้งข่าวก่อนหน้า /1 ต่อไป

รายชื่อผู้กระทำผิด|Mobile|รูปแบบข้อความล้วน|NBFIX

GMT+7, 15-1-2025 19:51 , Processed in 0.069585 second(s), 19 queries .

Powered by Discuz! X3.4 R20180101, Rev.59

© 2001-2017 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้