สาระสำคัญ |
::: ในการปฏิบัติงานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน ความปลอดภัยนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ ที่ผู้ปฏิบัติงานจะต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์มากมายมหาศาล เมื่อไฟฟ้ามีประโยชน์ แต่ไฟฟ้าก็ย่อมมีโทษ ถ้าไม่รู้จักการใช้และการป้องกัน อันตรายที่เกิดขึ้นมักเกิดจากความประมาท ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ดังนั้น การที่จะช่วยลดอุบัติเหตุ ที่เกิดจากไฟฟ้าซึ่งจะทำให้เกิดการสูญเสีย จะต้องรู้ถึงวิธีการป้องกันมิให้เกิดอันตรายและเข้าใจขั้นตอนวิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น |
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม |
- อธิบายระบบความปลอดภัยในงานไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ได้
- อธิบายวิธีการป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าได้
- ช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุจากไฟฟ้าได้
- ปฐมพยาบาลผู้ถูกไฟฟ้าดูดได้
- ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
|
ความปลอดภัยในงานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ |
การทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ถ้าขาดความระมัดระวังจะทำให้ได้รับอันตราย และเกิดความเสียหายได้ เนื่องจากร่างกาย ส่วนใดส่วนหนึ่ง เข้าไปสัมผัสกับวงจรไฟฟ้า คุณสมบัติของไฟฟ้าโดยทั่วไป จะพยายามไหลและแทรกซึมเข้าหาสื่อตัวนำต่าง ๆ เช่น โลหะ ดิน น้ำเป็นต้น เมื่อร่างกายของเราเข้าไปสัมผัสจะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านตัวเราเข้าสู่พื้นดินหรือน้ำ
กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย แม้จะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยก็อาจจะทำให้ได้รับอันตรายได้ ในกรณีที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านอวัยวะที่สำคัญ ของร่างกาย สาเหตุที่ทำให้ได้รับอันตรายจาก ไฟฟ้าแบ่งเป็น 2 กรณีคือ
|
- กระแสไฟฟ้าไหลเกิน เป็นสาเหตุที่ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าหรือทรัพย์สินอื่นเกิดเสียหาย
- ไฟฟ้าดูด เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายกับมนุษย์ถึงขั้นเสียชีวิตได้
|
กระแสไฟฟ้าไหลเกิน (Over Current)
|
กระแสไฟฟ้าไหลเกิน หมายถึง สภาวะของกระแสที่ไหลผ่านตัวนำจนเกินพิกัดที่กำหนดไว้อาจเกิดได้ 2 ลักษณะด้วยกันคือ |
- โหลดเกิน (Over Load) หมายถึง กระแสไหลในวงจรปกติ แต่นำอุปกรณ์ที่กินกำลังไฟสูงหลาย ๆ ชุดมาต่อในจุดเดียวกัน ทำให้กระแสไหลรวมกันเกินกว่าที่จะทนรับภาระของโหลดได้ เช่น นำเอาอุปกรณ์มาต่อที่จุดต่อเดียวกันของเต้ารับหลายทางแยก
- การลัดวงจร (Short Circuit) หรือเรียกกันทั่ว ๆ ไปว่าไฟฟ้าช๊อต เกิดจากฉนวนชำรุด ทำให้เกิดสายที่มีไฟ (Line) และสายดิน (Ground) สัมผัสถึงกัน มีผลทำให้เกิดความร้อน ฉนวนที่ห่อหุ้มลวดตัวนำจะลุกไหม้ในที่สุด
|
ไฟฟ้าดูด (Electric Shock ) |
ไฟฟ้าดูด คือการที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายของมนุษย์ โดยบางส่วนของร่างกายจะมีสภาพเป็นตัวนำไฟฟ้า |
|
อันตรายจากการถูกไฟฟ้าดูด ขึ้นอยู่กับปริมาณและกระแสไฟฟ้า ที่ไหลผ่านร่างกา ยและระยะเวลาที่ถูกดูด ตารางที่ 1.1 จะแสดงปริมาณของกระแสไฟฟ้า ที่มีผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้
|
|
ลักษณะของการถูกไฟฟ้าดูด |
การรั่วระหว่างสาย (Line Leakage) คือกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายระหว่างสายไฟกับสายดิน |
|
การรั่วไหลลงสู่ดินคือ กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกาย จากสายที่มีไฟลงสู่ดินอันเนื่อง มาจากพื้นดิน มีความชื้น จึงทำให้เกิดการนำกระแสไฟฟ้าได้ |
|
การรั่วไหลผ่านโครงอุปกรณ์ (Frame Leakage) คือแรงดันไฟฟ้าบางส่วนรั่วออกมาปรากฏที่โครงโลหะของอุปกรณ์ไฟฟ้า เกิดจากความชื้น หรือเสื่อมคุณภาพ ของอุปกรณ์ ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกา ยขณะที่สัมผัสหรือจับอุปกรณ์ชนิดนั้น ๆ |
|
ระบบการป้องกันทางไฟฟ้า คือ ระบบการป้องกันที่ไม่ให้แรงดันไฟฟ้าเกินค่าสูงสุดซึ่งเป็นแรงดันที่ยอมให้มนุษย์สัมผัสได้โดยตรง (แรงดันไม่เกิน 65 โวลท์) อย่างไรก็ตาม ค่าแรงดันไฟฟ้าระดับนี้ จะก่อให้เกิดอันตรายได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับสภาพความต้านทานไฟฟ้า ของแต่ละบุคคล ซึ่งโดยปกติ ค่าความต้านทานของมนุษย์ มีค่าอยู่ระหว่าง 1,000 – 4,000 โอห์ม ดังนั้นเราสามารถหากระแสไฟฟ้า ที่ไหลผ่านตัวมนุษย์ได้จากสูตร
|
กระแสไฟฟ้า = แรงดันตกคร่อมตัวมนุษย์ / ความต้านทานตัวมนุษย์
กระแสไฟฟ้า = 65 โวลต์ / 4000 โอมห์
= 16.25 มิลลิแอมป์
|
ในกรณีที่ร่างกายเปียกชื้นจะมีค่าความต้านทานประมาณ 1300 โอมห์ จะหาค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายได้ดังนี้คือ |
กระแสไฟฟ้า = แรงดันตกคร่อมตัวมนุษย์ / ความต้านทานตัวมนุษย์
กระแสไฟฟ้า = 65 โวลต์ / 1300 โอมห์
= 50 มิลลิแอมป์
|
ถ้าศึกษาจากตารางที่ 1.1 จะเห็นได้ว่า ในกรณีที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย จำนวน 50 มิลลิแอมป์ ถือว่าอันตรายมาก |
|
การป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า |
วิธีป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกาย คือ ใช้ฉนวนที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านได้ยาก เช่น การสวมถุงมือยาง, รองเท้ายาง, หรือการต่อสายดิน เป็นต้น ในปัจจุบันมีผู้คิดค้นระบบป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า เพื่อใช้ในการคุ้มครองชีวิต และทรัพย์สินมากมาย เช่น การต่อสายดิน,
เซฟตี้คัท, แอคคิวคัท, ฟิวส์, เซอร์กิตเบรคเกอร์ อุปกรณ์จะถูกติดตั้ง บริเวณต้นทางของวงจรไฟฟ้า เพื่อป้องกันมิให้เกิดการลัดวงจร การเลือกขนาดของฟิวส์และเซอร์กิตเบรคเกอร์ควรสูงกว่าโหลดที่ใช้แต่ไม่เกินพิกัดของสายไฟฟ้าเพราะอาจทำให้สายเกิดการชำรุดเสียหายได้ |
หลักปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย |
1. เมื่อร่างกายเปียกชื้น เช่น มือ, เท้าเปียก ไม่ควรแตะต้องอุปกรณ์ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ เพราะหากอุปกรณ์ดังกล่าวชำรุด จะถูกกระแสไฟฟ้าดูดและอาจเสียชีวิตได้
|
|
2. ถ้าขาดความรู้ด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ควรซ่อมและ แก้ไขอุปกรณ์ดังกล่าวด้วยตัวเอง เพราะอาจทำให้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด เกิดอันตรายได้ |
|
3. ก่อนที่จะทำการตรวจซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ จะต้องตัดกระแสไฟฟ้าที่จ่ายไปยังอุปกรณ์นั้น ๆ เช่น ถอดเต้าเสียบ ปลดสวิตช์ เป็นต้น |
|
4. เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อนสูง เช่น เตารีด, เตาไฟฟ้า ควรระมัดระวังอย่าใช้งานใกล้กับสารไวไฟ เมื่อเลิกใช้แล้วให้ถอดเต้าเสียบออก |
|
5. ระวังอย่าให้เด็กเล่นเครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ และเต้ารับควรใช้แบบที่มีฝาปิดเพื่อป้องกันเด็กนำวัสดุไปเสียบรูเต้ารับซึ่งจะเกิดอันตรายได้ |
|
6. หากพบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด ให้ตัดแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าก่อน เช่น ปลดคัทเอาท์ เต้าเสียบออกหรือใช้ผ้าแห้งคล้องผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดออกมา ก่อนทำการปฐมพยาบาล
|
|
7. ควรจัดให้มีการตรวจสอบสายไฟฟ้าภายในบ้านเพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งอาจเกิดอันตรายและอัคคีภัยขึ้นได้ |
|
8. เต้ารับและเต้าเสียบของเครื่องใช้ไฟฟ้า หากพบว่าแตกชำรุดให้รีบเปลี่ยนใหม่โดยเร็ว และหากพบว่าสายไฟฟ้า ของเครื่องใช้ไฟฟ้าเปื่อยชำรุด ก็ให้เปลี่ยนใหม่ด้วย |
|
9. เครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์ที่ผิวนอกเป็นโลหะ เช่น ตู้เย็น, โทรทัศน์, พัดลม อาจมีกระแสไฟฟ้ารั่วไปที่ผิวภายนอกดังกล่าวได้ ควรหมั่นตรวจสอบโดยใช้ไขควงเช็คไฟตรวจสอบ หากพบว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่ว ควรให้ช่างซ่อมแซมแก้ไขต่อไป |
|
10. ฟิวส์ที่ใช้ตามแผงสวิตช์ต่าง ๆ ต้องติดตั้งขนาดให้ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อฟิวส์ขาดควรมีการตรวจหาสาเหตุ โดยเบื้องต้น ก่อนที่จะเปลี่ยนฟิวส์ใหม่ และต้องใส่ฟิวส์ขนาดเดิม ห้ามใช้สายไฟหรือลวดใส่แทนฟิวส์ เพราะเมื่อเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร สายไฟหรือลวดจะไม่ขาดอาจเกิดอัคคีภัยได้
|
|
11. การถอดเต้าเสียบ ให้จับที่ตัวเต้าเสียบแล้วดึงออก อย่าดึงที่สายไฟฟ้าเพราะอาจทำให้สายไฟฟ้าขาดภายในและเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรได้ |
|
12. อย่าใช้ผ้าหรือกระดาษพลางหลอดไฟไว้เพราะอาจเกิดอัคคีภัยได้ |
|
13. อย่าใช้สายไฟฟ้าเสียบที่เต้ารับโดยตรง หรือใช้เต้าเสียบที่แตกชำรุด ไปเสียบที่เต้ารับ เพราะอาจเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจร หรืออาจพลั้งพลาดถูกกระแสไฟฟ้าดูดได้ |
|
14. การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์หลายเครื่อง ในเวลาเดียวกัน ต้องไม่เสียบเต้าเสียบ ที่เต้ารับอันเดียวกัน เพราะอาจทำให้กระแสไฟฟ้า ไหลในสายเต้ารับมีปริมาณสูงมาก ทำให้เกิดความร้อนสะสม เป็นเหตุให้ฉนวนสายไฟฟ้าเสียหาย และเกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรเกิดอัคคีภัยได้ |
|
15. อย่าเดิน หรือวางสายไฟฟ้าใกล้บริเวณที่มีความร้อนสูง และอย่าให้ของหนักกดทับสายไฟฟ้า เพราะอาจทำให้ฉนวนไฟฟ้าลัดวงจรเกิดอุบัติเหตุขึ้นได้ |
|
16. เมื่อพบเห็นสายไฟฟ้าขาดหรือสายไฟฟ้าที่หย่อนยานต่ำลงมา อย่าเข้าไปจับต้อง และให้แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคที่อยู่ใกล้ทราบ เพื่อจะได้ซ่อมแซมแก้ไขต่อไป
|
|
17. ไม่ควรเล่นว่าวในบริเวณที่มีสายไฟฟ้า โดยเฉพาะสายไฟฟ้าแรงสูง เพราะอาจจะทำให้ได้รับอันตรายจากไฟฟ้าได้ |
|
18. ไม่ควรตั้งเสาโทรทัศน์หรือเสาอากาศวิทยุบริเวณที่มีสายไฟฟ้าแรงสูง เพราะอาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้าได้ |
|
19. การเผาหญ้า กิ่งไม้ หรือเศษวัสดุต่าง ๆ ให้ห่างจากเสาไฟฟ้าเพราะอาจทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าลัดวงจรและเกิดอันตรายต่อผู้ที่อยู่ใกล้ได้
|
|
20. ห้ามใช้กระแสไฟฟ้าช็อตปลา เพราะผิดกฎหมายและอาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้าดูดจนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ |
|
การปฐมพยาบาลผู้ได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้า |
ในกรณีที่พบเห็นผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด จะต้องช่วยเหลือให้ถูกวิธีและรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของผู้ช่วยเหลือและผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูด หลังจากนั้นให้ทำการปฐมพยาบาลและช่วยเหลือก่อนนำส่งโรงพยาบาล โดยให้ปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้คือ |
1. หากพบผู้ถูกกระแสไฟฟ้าดูดให้ตัดการจ่ายไฟ เช่น คัทเอาท์ เพื่อตัดไฟ |
|
2. ใช้ไม้แห้รือฉนวนไฟฟ้าเขี่ยอุปกรณ์ไฟฟ้าให้พ้นจากผู้ที่ถูกกระแสไฟฟ้าดูด หรือใช้ผ้าแห้ง, เชือก ดึงผู้ป่วยออกจากจุดที่เกิดเหตุโดยเร็ว เพื่อปฐมพยาบาล |
|
3. ช่วยปฐมพยาบาล โดยการวางผู้ป่วยให้นอนหงาย แล้วช้อนคอผู้ป่วยให้แหงนขึ้น |
|
4. สังเกตในช่องปากมีสิ่งอุดตันหรือไม่ หากพบให้นำออกและช่วยเป่าปากโดยใช้นิ้วง้างปาก และบีบจมูกของผู้ป่วย |
|
5. ประกบปากของผู้ป่วยให้สนิท เป่าลมเข้าแรง ๆ โดยเป่าปากประมาณ 12 – 15 ครั้งต่อนาที สังเกตการขยายของหน้าอก หากเป่าปากไม่ได้ให้เป่าจมูกแทน |
|
6. หากหัวใจหยุดเต้น ต้องนวดหัวใจ โดยวางผู้ป่วยนอนราบแล้วเอามือกดเหนือลิ้นปี่ให้ถูกตำแหน่ง กดลงไปเป็นจังหวะ เท่ากับการเต้นของหัวใจ (ผู้ใหญ่นาทีละ 60 ครั้ง เด็ก 80 ครั้ง) |
|
7. ฟังการเต้นของหัวใจสลับกับการกดทุก ๆ 10-15 ครั้ง |
|
8. ถ้าหยุดหายใจ และหัวใจหยุดเต้นให้เป่าปาก 2 ครั้ง |
|
9. นวดหัวใจ 15 ครั้ง สลับกัน |
|
การปฐมพยาบาลต้องทำทันทีที่ช่วยเหลือผู้ป่วยออกมา และควรนำส่งโรงพยาบาล ขณะนำส่งโรงพยาบาล จะต้องทำการปฐมพยาบาล ตามขั้นตอนดังกล่าว ตลอดเวลา |