สาระสำคัญ |
::: สารกึ่งตัวนำ คือ สารที่มีสภาพระหว่างตัวนำกับฉนวน นำไปใช้ในการสร้างอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น ไดโอด, ทรานซิสเตอร์ ฯลฯ การค้นพบสารกึ่งตัวนำ นับเป็นการค้นพบที่ยิ่งใหญ่ จนอาจกล่าวได้ว่าเป็นการปฏิวัติอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เลยทีเดียว |
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม |
- บอกคำจำกัดความของสารกึ่งตัวนำได้
- อธิบายความแตกต่างระหว่างสารกึ่งตัวนำชนิด P และ ชนิด N ได้
- บอกโครงสร้างและเขียนสัญลักษณ์ของไดโอดและทรานซิสเตอร์ได้
- อธิบายหลักการทำงานของไดโอดและทรานซิสเตอร์ได้
- ยกตัวอย่างการนำไดโอดและทรานซิสเตอร์ไปใช้งานได้
- สามารถตรวจสอบไดโอดและทรานซิสเตอร์ด้วยมัลติมิเตอร์ได้
- บอกชื่อและหน้าที่ของไดโอดชนิดต่าง ๆ ได้
- บอกชื่อและหน้าที่ของทรานซิสเตอร์ชนิดต่าง ๆ ได้
|
สารกึ่งตัวนำคืออะไร
|
สสารทุกชนิดประกอบด้วยส่วนประกอบเล็ก ๆ ที่เรียกว่า “โมเลกุล” มารวมตัวกัน โดยแต่ละโมเลกุลก็จะประกอบด้วยส่วนที่เล็กมาก ๆ ซึ่งเรียกว่าอะตอม เช่น โมเลกุลของน้ำจะประกอบด้วยอะตอม 3 อะตอม คืออะตอมของไฮโดรเจน (Hydrogen) 2 อะตอม และ อะตอมของออกซิเจน (Oxygen) 1 อะตอมมารวมกัน โดยอะตอมแต่ละอะตอมจะมีแกนกลางซึ่งเรียกว่านิวเคลียส ซึ่งจะมีนิวตรอนและโปรตอนอยู่ภายใน และจะมีอิเล็กตรอนวิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียส หลายๆวง โดยอิเล็กตรอนที่อยู่วงนอกสุดเรียกว่า วาเลนอิเล็กตรอน (Valence Electron) จะมีผลต่อความสามารถในการนำไฟฟ้าของสสารนั้น สสารที่เป็นตัวนำ (Conductor) จะมีอิเล็กตรอนวงนอกเพียง 1-3 ตัว ดังนั้นเมื่อมันได้รับพลังงานความร้อน หรือ พลังงานไฟฟ้า อิเล็กตรอนก็จะหลุดออกมาจากวงโคจรเป็นอิเล็กตรอนอิสระ (Free Electron) ได้ทันที ทำให้สามารถเคลื่อนตัวไปในสสารได้อย่างอิสระ ซึ่งเราเรียกการเคลื่อนตัวของอิเล็กตรอนนี้ว่า “กระแสไฟฟ้า” ดังนั้นสสารที่เป็นตัวนำจึงมีสภาพการนำไฟฟ้าที่ดี ส่วนสสารที่มีอิเล็กตรอนวงนอกตั้งแต่ 5-8 ตัว เราจะเรียกว่า “ฉนวน” (Insulator) จะมีสภาพการนำไฟฟ้าที่ไม่ดีนัก เพราะมีอิเล็กตรอนอิสระน้อย สำหรับสสารที่มีอิเล็กตรอนวงนอก 4 ตัว เช่น ซิลิกอน (Silicon) และเยอร์มันเนียม (Germanium) จะมีสภาพการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำและฉนวน เราเรียกว่า “สารกึ่งตัวนำ” (Semiconductor)
|
|
สารกึ่งตัวนำ ชนิด P และ ชนิด N
|
สารกึ่งตัวนำ บริสุทธิ์ (Intrinsic Semiconductor) จะมีสภาพการนำไฟฟ้าที่ไม่ดี เพราะอิเล็กตรอนวงนอกจะจับตัวรวมกัน โดยใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน เพื่อให้เกิดภาวะเสถียร เสมือนมีอิเล็กตรอนวงนอก 8 ตัว จึงไม่เหมาะต่อการใช้งาน ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงมีการเติมสารอื่นเข้าไป เพื่อให้เกิดสภาพนำไฟฟ้าที่ดีกว่าเดิม เหมาะกับการใช้งาน โดยการเติมสารหรือที่เรียกกัน ทับศัพท์ว่า การโดป (Doping) สารนั้น จะมีได้ 2 ลักษณะคือ
|
1. เติมสารที่มีอิเล็กตรอนวงนอก 3 ตัว เช่น อลูมิเนียม หรือ แกลเลียม ลงไป ทำให้เกิดสภาวะขาดอิเล็กตรอน คือจะมีที่ว่างของอิเล็กตรอน ซึ่งเรียกว่าโฮล (Hole) มากกว่าจำนวนอิเล็กตรอนอิสระ ด้วยเหตุที่โฮลมีสภาพเป็นประจุไฟฟ้าบวก และเป็นพาหะส่วนใหญ่ของสาร ส่วนอิเล็กตรอน จะเป็นพาหะส่วนน้อย เราจึงเรียกสารกึ่งตัวนำประเภทนี้ว่า สารกึ่งตัวนำ ชนิด P (P-type Semiconductor) |
2. เติมสารที่มีอิเล็กตรอนวงนอก 5 ตัว เช่น สารหนู หรือ ฟอสฟอรัส ลงไป ทำให้เกิดสภาวะมีอิเล็กตรอนอิสระมากกว่าจำนวนของโฮล ด้วยเหตุที่อิเล็กตรอนมีประจุไฟฟ้าลบและเป็นพาหะส่วนใหญ่ ส่วนโฮลเป็นพาหะส่วนน้อยของสาร เราจึงเรียกว่าเป็น สารกึ่งตัวนำชนิด N (N-type Semiconductor) |
|
รอยต่อ PN
|
เมื่อนำสารกึ่งตัวนำชนิด P และ สารกึ่งตัวนำชนิด N มาเชื่อมต่อกัน จะเกิดการรวมตัวระหว่างอิเล็กตรอนและโฮลบริเวณใกล้รอยต่อนั้น โดยอิเล็กตรอนในสารกึ่งตัวนำชนิด N จะรวมตัวกับโฮลของสารกึ่งตัวนำชนิด P ทำให้อะตอมบริเวณรอยต่อของสารกึ่งตัวนำชนิด N
จะขาดอิเล็กตรอนไปเกิดเป็นสภาวะเป็นประจุไฟฟ้าบวก ซึ่งจะต้านการเคลื่อนที่ของโฮล ในขณะที่ อะตอมบริเวณรอยต่อของสาร P จะมีอิเล็กตรอนเกินมา ทำให้มีประจุไฟฟ้าลบซึ่งจะผลักอิเล็กตรอนอิสระที่จะวิ่งข้ามมาทางฝั่ง ของสาร P ดังรูป
|
บริเวณดังกล่าว จึงเป็นบริเวณปลอดพาหะ (Depletion Region) โดยจะเสมือนกำแพงกั้นไม่ให้อิเล็กตรอน และโฮลของอะตอมอื่นๆ ภายในสารกึ่งตัวนำมารวมกัน ถ้าต้องการให้พาหะทั้งสองฝั่งมารวมตัวกัน จะต้องให้แรงดันไฟฟ้า แก่สารให้มากกว่าระดับแรงดันไฟฟ้า ซึ่งเกิดจากประจุบริเวณรอยต่อ โดยถ้าเป็นสารกึ่งตัวนำที่ทำมาจากซิลิกอน ระดับแรงดันดังกล่าวจะอยู่ประมาณ 0.7 โวลท์ และ ในกรณีสารกึ่งตัวนำที่ทำมาจากเยอรมันเนียม ระดับแรงดันดังกล่าวจะมีค่าต่ำกว่า โดยจะมีค่าประมาณ 0.3 โวลท์ |
|
การไบอัสรอยต่อ PN
|
เมื่อเราจ่ายแรงดันให้แก่สารในลักษณะ ต่อขั้วบวกของแบตเตอรี่เข้ากับสารกึ่งตัวนำชนิด P และต่อขั้วลบเข้ากับสารกึ่งตัวนำชนิด N จะทำให้อิเล็กตรอนมีพลังงานเพิ่มมากขึ้น โดยถ้าแรงดันแบตเตอรี่ที่จ่ายมีระดับแรงดันสูงกว่าแรงดันต้านกลับบริเวณรอยต่อ ก็จะทำให้อิเล็กตรอนมีพลังงานสูงพอ ที่จะข้ามมายังฝั่งตรงข้ามได้ เกิดมีกระแสไฟฟ้าไหล เราเรียกการต่อแรงดันในลักษณะนี้ว่า การไบอัสตรง (Forward Bias) ดังรูปที่ 7.4
|
|
ในทางตรงกันข้ามหากเราทำการจ่ายแรงดันสลับด้าน โดยให้ขั้วบวกของแบตเตอรี่ต่อเข้ากับสารกึ่งตัวนำชนิด N และต่อขั้วลบเข้ากับสารกึ่งตัวนำชนิด P จะทำให้มีการฉุดรั้งอิเล็กตรอนไม่ให้ข้ามมายังฝั่งตรงข้าม ทำให้ไม่เกิดกระแสไหล เราเรียกลักษณะการต่อแรงดันในลักษณะนี้ว่า การไบอัสกลับ (Reveres Bias) |
|
ในสภาวะไบอัสกลับนี้ พาหะส่วนน้อย คือ อิเล็กตรอนในสาร P และ โฮลในสาร N จะถูกกระตุ้นจากแบตเตอรี่ให้มารวมกัน ทำให้เกิดกระแสไหลแต่มีปริมาณน้อยมากมีค่าเป็น ไมโครแอมป์หรือนาโนแอมป์ เราเรียกกระแสนี้ว่า กระแสรั่วไหล (Leakage Current) โดยสารกึ่งตัวนำชนิดซิลิกอนจะมีขนาดของกระแสรั่วไหล ต่ำกว่า เยอรมันเนียม |
ไดโอด |
จากคุณลักษณะของรอยต่อ PN ของสารกึ่งตัวนำ เราจึงนำมาสร้างอุปกรณ์ที่เรียกว่า ไดโอดขึ้น โดยเรียกขั้วที่ต่อกับสาร P ว่า อาโนด (Anode) และเรียกขั้วที่ต่อกับสาร N ว่า คาโถด(Cathode) โดยจะมีรูปลักษณะและสัญลักษณ์ดังรูปที่ 7.6
|
|
การตรวจสอบไดโอด
|
วิธีการตรวจสอบไดโอดว่าดีหรือเสียและตรวจสอบขั้วของไดโอดทำได้โดยอาศัย คุณสมบัติของการไบอัสไดโอด โดยสามารถทำได้ดังนี้ คือ
|
1. ใช้มัลติมิเตอร์ตั้งย่านวัดโอห์ม R X 1
2. ใช้ปลายสายวัดต่อเข้ากับขั้วต่อแต่ละด้านของไดโอด
3. สังเกตเข็มมิเตอร์ว่าขึ้นหรือไม่
4. จากนั้นทำการสลับขั้วสายวัดแล้วสังเกตเข็มมิเตอร์อีกครั้ง
|
|
ถ้าเข็มมิเตอร์ขึ้น 1 ครั้ง ไม่ขึ้นหนึ่งครั้ง แสดงว่า ไดโอดอยู่ในสภาพใช้งานได้(ไบอัสตรงกระแสไหล ไบอัสกลับกระแสไม่ไหล) แต่ถ้าเข็มมิเตอร์ไม่ขึ้นทั้งสองครั้ง แสดงว่า ไดโอดขาด หรือ ถ้าขึ้นทั้งสองครั้งแสดงว่า ไดโอดลัดวงจร สำหรับขั้วไดโอดนั้น ให้พิจารณา ในสภาวะเข็มขึ้น โดยขั้ว + ของมิเตอร์จะต่อกับ คาโถด และขั้ว – ของมิเตอร์จะต่อกับ อาโนด (ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ขั้วมิเตอร์จะสลับ กับขั้วของแบตเตอรี่ภายใน ทำให้ในสภาวะที่เข็มขึ้น คือสภาวะไบอัสตรง อาโนด จะถูกต่อกับขั้ว – ของมิเตอร์ ซึ่งก็คือขั้วบวก ของแบตเตอรี่ภายในมิเตอร์นั่นเอง) |
|
การนำไปใช้งาน
|
ไดโอดสามารถนำไปใช้งานในวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์ได้หลากหลาย แต่ในที่นี้จะยกตัวอย่างการใช้งาน 2 ตัวอย่าง คือ
|
1. การป้องกันการต่อแบตเตอรี่ผิดขั้ว
2. การสร้างวงจรแปลงไฟสลับเป็นไฟตรง
|
1. การป้องกันการต่อแบตเตอรี่ผิดขั้ว
|
ปกติในการสร้างวงจรอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไปที่ใช้แบตเตอรี่เป็นไฟเลี้ยงวงจร อาจเกิดปัญหาการต่อแบตเตอรี่ผิดขั้วทำให้วงจรอิเล็กทรอนิกส์เสียหาย ดังนั้นเราจึงนำคุณลักษณะการนำกระแสทางเดียวของไดโอดมาป้องกันปัญหาดังกล่าวได้ โดยถ้าหากต่อแบตเตอรี่ถูกต้องไดโอดจะได้รับไบอัสตรง ทำให้มีกระแสไหลจ่ายให้วงจรทำงานตามปกติ แต่ถ้าต่อแบตเตอรี่ผิดขั้ว ไดโอดจะได้รับไบอัสกลับ ไดโอดก็จะไม่นำกระแสเสมือนสวิตไฟ ที่เปิดวงจรออก ทำให้วงจรใช้งานไม่ได้รับความเสียหาย
|
|
2. การแปลงไฟสลับเป็นไฟตรง |
|
จากวงจร เราจะใช้หม้อแปลง แปลงแรงดันไฟสลับ 220V เป็นไฟสลับ 25 V แล้วต่อเข้าวงจรไดโอด เพื่อแปลงจากไฟสลับเป็นไฟตรง โดยในช่วงสัญญานซีกบวก จุด A จะเป็นบวกเมื่อเทียบกับจุด B ไดโอดจะได้รับการไบอัสตรง ทำให้มีกระแสไหลผ่านวงจร เกิดแรงดันตกคร่อมขึ้นที่ตัวต้านทาน และ เมื่อช่วงสัญญาณไฟสลับในซีกลบ จุด A จะมีศักดาไฟฟ้าเป็นลบ เมื่อเทียบกับจุด B ทำให้ไดโอดได้รับไบอัสกลับ จึงไม่มีการนำกระแส ทำให้ไม่มีแรงดันตกคร่อมตัวต้านทาน ดังนั้น แรงดันที่ตัวต้านทาน จึงมีสถานะเป็นช่วงไฟตรงที่มีช่วงบวกอย่างเดียว เราเรียกวงจรลักษณะนี้ว่า วงจรเรียงกระแส หรือ วงจรเร็กติฟาย (Rectifier) โดยการต่อใช้งานจริง จะใช้ตัวเก็บประจุแทนตัวต้านทาน เพื่อให้เก็บกำลังไฟฟ้า และเป็นแรงดันไฟตรงที่ราบเรียบ |
ไดโอดชนิดต่าง ๆ
|
ไดโอดดีเท็คเตอร์ (Detector Diode) ไดโอดประเภทนี้จะใช้ในวงจรเครื่องรับ-ส่งวิทยุ โดยใช้เป็นตัวแยกสัญญาณวิทยุ หรือ ลดสัญญาณรบกวน
|
ไดโอดเร็กติฟาย (Rectifier Diode) ไดโอดประเภทนี้จะใช้ในวงจรเรียงกระแส (Rectifier) หรือวงจรแปลงไฟสลับเป็นไฟตรงนั่นเอง โดยไดโอดที่พบเห็นกันส่วนใหญ่จะเป็นไดโอดประเภทนี้
|
ไดโอดกำลัง (Power Diode) ไดโอดประเภทนี้จะมีลักษณะเป็นโลหะขนาดใหญ่ เพื่อช่วยในการระบายความร้อนภายในตัว ส่วนใหญ่จะใช้ในงานแหล่งจ่ายกำลัง ซึ่งมีกระแสสูง
|
ซีเนอร์ไดโอด (Zener Diode) เป็นไดโอดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษ โดยจะทำงานในสภาวะไบอัสกลับ และมีคุณสมบัติในการรักษาระดับแรงดันไฟฟ้า ที่ตกคร่อมตัวมัน ให้มีค่าคงที่ จึงนิยมใช้ในวงจรรักษาระดับแรงดันไฟฟ้า( Voltage Regulator) |
ไดโอดเปล่งแสง (Light Emitting Diode) มักเรียกย่อว่า แอลอีดี (LED) เป็นไดโอดที่ออกแบบมาเป็นพิเศษโดยเมื่อได้รับแรงดันไบอัสตรง จะเปล่งแสงออกมาได้ ซึ่งมีทั้ง สีแดง เขียว ฟ้า ส้ม เหลือง ฯลฯ ตามสารที่ใช้ทำ มักใช้ในส่วนของการแสดงผลในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพราะกินไฟน้อยกว่าหลอดไฟมาก |
ไดโอดรับแสง (Photo Diode) ไดโอดที่ออกแบบมาเพื่อปรับเปลี่ยนค่าตามความเข้มของแสงที่เข้ามา โดยจะมีลักษณะเป็นช่องหน้าต่างเล็กๆ ไว้ใช้ในการรับแสง ซึ่งอาจเป็นแสงสว่างธรรมดาหรือแสงอินฟาเรด มักใช้กับวงจรตรวจจับสัญญาณ หรือ ในวงจรควบคุมระยะไกล หรือที่เรียกว่า รีโมท |
|
ข้อควรระวังในการใช้งานไดโอด
|
1. ในการใช้งานไบอัสตรงจะต้องมีตัวต้านทานจำกัดกระแสต่อไว้เสมอ มิฉะนั้น ไดโอดอาจจะไหม้ได้ เพราะมีกระแสสูงเกินไป โดย |
ค่าของตัวต้านทานจำกัดกระแส = แรงดันแหล่งจ่ายไฟ-แรงดันตกคร่อมไดโอด/กระแสที่ต้องการให้ไหลผ่านไดโอด |
2. การใช้งานในสภาวะไบอัสกลับจะต้องระวังไม่ให้ไดโอดได้รับแรงดันไบอัสกลับเกินกว่าค่าแรงดันไบอัสกลับสูงสุดที่ทนได้ เพราะอาจทำให้ ไดโอดระเบิดได้
|
3. การใช้งานไดโอดเปล่งแสงหรือแอลอีดี จะต้องระวังไม่ให้กระแสเกินกว่า 20 mA เพราะจะทำให้แอลอีดีร้อนจัดจนเสียหายได้ |
4. ไม่ควรให้แอลอีดีได้รับแรงดันไบอัสกลับ เพราะอาจทำให้เสียหายได้ทันที หากไม่ทราบขั้วแรงดันที่จะต่อ แอลอีดี ควรใช้ไดโอดป้องกัน การต่อกลับขั้วไว้ด้วย |
5. ค่าแรงดันที่ตกคร่อมแอลอีดีในสภาวะทำงานจะแตกต่างกันไปตามสารที่ใช้ทำโดยทั่วไปจะเป็นดังนี้ แอลอีดี สีแดง จะมีแรงดันตกคร่อม 1.6-2.0 โวล์ท
|
แอลอีดี สีส้ม จะมีแรงดันตกคร่อม 1.8-2.7 โวล์ท
แอลอีดี สีเขียว จะมีแรงดันตกคร่อม 2.2 – 3.0 โวล์ท
แอลอีดี สีเหลือง จะมีแรงดันตกคร่อม 2.2 – 3.0 โวล์ท
แอลอีดี อินฟราเรด จะมีแรงดันตกคร่อม 2.2 – 3.0 โวล์ท
|
ทรานซิสเตอร์ (Transistor) |
จากคุณลักษณะของรอยต่อ PN ของสารกึ่งตัวนำ เราจึงนำมาสร้างอุปกรณ์ที่เรียกว่า ไดโอดขึ้น โดยเรียกขั้วที่ต่อกับสาร P ว่า อาโนด (Anode) และเรียกขั้วที่ต่อกับสาร N ว่า คาโถด(Cathode) โดยจะมีรูปลักษณะและสัญลักษณ์ดังรูปที่ 7.6
|
ทรานซิสเตอร์ (Transistor) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่สร้างมาจากสารกึ่งตัวนำ 3 ชิ้น มาเชื่อมต่อกัน คือ
|
- ชิ้นแรก เรียกว่า อิมิตเตอร์ (Emitter)
- ชิ้นที่สอง เรียกว่า เบส (Base) จะเป็นชิ้นสารบางๆ
- ชิ้นที่สาม เรียกว่า คอลเล็กเตอร์ (Collector) จะมีการเติมสารที่แตกต่างจากปกติ คือ จะมีพาหะส่วนใหญ่และ พาหะส่วนน้อยในจำนวนเท่า ๆ กัน
|
|
จากคุณลักษณะดังกล่าวทำให้ทราบคำตอบว่า ทำไมเราจึงไม่สามารถใช้ไดโอด 2 ตัวมาทำเป็นทรานซิสเตอร์ได้ เราสามารถสร้างทรานซิสเตอร์ได้ 2 ชนิด คือชนิด PNP และ ชนิด NPN |
|
โดยสามารถใช้สัญลักษณ์แทนได้ดังรูป
|
|
การทำงานของทรานซิสเตอร์
|
|
ในที่นี้จะยกตัวอย่างทรานซิสเตอร์ชนิด NPN เมื่อทำการให้ไบอัสแก่ทรานซิสเตอร์ โดยให้ไบอัสตรงกับรอยต่อเบส-อิมิตเตอร์ และไบอัสกลับกับรอยต่อเบส-คอลเล็กเตอร์ อิเล็กตรอนซึ่งเป็นพาหะส่วนใหญ่ในสาร N ของอิมิเตอร์จะไหลเข้าสู่โฮลของเบส ทำให้เกิดกระแสไหลเรียกว่ากระแสเบส (IB) แต่เนื่องจากชิ้นสารกึ่งตัวนำของเบสเป็นชิ้นบาง ๆ จึงทำให้กระแสส่วนนี้มีไม่มาก ดังนั้นพาหะส่วนใหญ่คืออิเล็กตรอนที่มาจากอิมิตเตอร์ จึงไหลทะลักไปยังคอลเล็กเตอร์ เนื่องจากได้รับแรงดันไบอัส และจำนวนโฮลในคอลเล็กเตอร์ซึ่งแม้จะเป็นพาหะส่วนน้อย แต่ก็มีจำนวนมากพอ (ตามการโด๊ปสารของชิ้นสารคอลเล็กเตอร์ ดังกล่าวข้างต้น) จึงทำให้เกิดกระแสในส่วนนี้อย่างมากซึ่งเรียกว่า กระแสคอลเล็กเตอร์ (IC) โดยจะมีปริมาณมากกว่า กระแสเบสหลายเท่า |
ดังนั้นจึงเสมือนว่าทรานซิสเตอร์มีความสามารถในการขยายกระแสได้ คือ เมื่อมีกระแสเบสจำนวนเล็กน้อย ก็จะทำให้เกิดกระแสคอลเล็กเตอร์ จำนวนหลายสิบหลายร้อยเท่า ซึ่งอัตราระหว่างกระแสคอลเล็กเตอร์ กับกระแสเบสดังกล่าวเราเรียกว่า อัตราขยายกระแส
|
อัตราขยายกระแส = กระแสคอลเล็กเตอร์ / กระแสเบส = IC / IB |
การไบอัสทรานซิสเตอร์
|
การจัดไบอัสในลักษณะให้ไบอัสตรงกับรอยต่อเบสอิมิตเตอร์ และให้ไบอัสกลับแก่เบส-คอลเล็กเตอร์ดังรูปที่ผ่านมา มีความยุ่งยากตรงที่ต้องมีแหล่งจ่ายไฟถึง 2 แหล่งจ่าย ดังนั้นในทางปฏิบัติจึงมีการจัดไบอัสในลักษณะใช้แหล่งจ่ายแหล่งเดียว โดยมีรูปแบบที่ใช้กันดังรูป |
|
- แบบไบอัสคงที่ (Fixed Bias) เป็นการไบอัสโดยใช้ตัวต้านทาน Rb ค่ามากๆต่อจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าไปยังขาเบส โดยทำให้มีกระแสเบสไหล ทำให้เกิดกระแสคอลเล็กเตอร์ไหลผ่าน Rc
- แบบไบอัสตัวเอง (Self Bias) เป็นการต่อตัวต้านทานระหว่างขา B และ ขา C
- แบบแบ่งแรงดัน (Voltage divider Bias) จะเป็นการใช้ตัวต้านทาน R1 และ R2 แบ่งแรงดันแหล่งจ่ายไฟเพื่อไบอัสให้กับรอยต่อ เบส-อิมิตเตอร์ และ เบส-คอลเล็กเตอร์ โดยส่วนใหญ่ ค่าความต้าน R1 จะมากกว่า R2 ประมาณ 10 เท่า
|
การจัดไบอัสให้แก่ทรานซิสเตอร์ คือการกำหนดจุดทำงานของทรานซิสเตอร์ หรืออีกนัยหนึ่งก็คือเตรียมความพร้อม เพื่อให้ทรานซิสเตอร์ทำงานนั่นเอง
|
การตรวจสอบทรานซิสเตอร์
|
1. การตรวจว่าทรานซิสเตอร์ดีหรือเสีย |
จากคุณสมบัติของทรานซิสเตอร์ที่ว่าเมื่อมีกระแสเบสเพียงเล็กน้อย จะทำให้เกิดกระแสจำนวนมากไหลผ่านขาคอลเล็กเตอร์ เราจึงสามารถนำมาใช้ตรวจสอบทรานซิสเตอร์ว่าดีหรือเสียได้ดังนี้ |
- ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่า ทรานซิสเตอร์เป็นประเภทอะไร และขาไหนเป็นขาอะไร ถ้าทรานซิสเตอร์ เป็นชนิด NPN ให้ต่อขั้วลบของมิเตอร์ไว้ที่ขาคอลเล็กเตอร์ ให้ต่อขั้วบวกไว้ที่ขาอิมิตเตอร์ แต่ถ้าเป็นชนิดPNP ให้สลับกันคือ ต่อขั้วบวกของมิเตอร์ไว้ที่ขาคอลเล็กเตอร์และต่อขั้วลบไว้ที่ขาอิมิตเตอร์
- ตั้งมัลติมิเตอร์ในย่านวัดโอห์ม R X 10
- ดูเข็มของมิเตอร์ว่าขึ้นหรือไม่ ถ้าขึ้นแสดงว่าอาจช๊อตหรือมีกระแสรั่วไหลสูง
- จากนั้นใช้นิ้วมือแตะระหว่างขาคอลเล็กเตอร์และขาเบส(แทนตัวต้านทาน Rb)
- สังเกตว่าเข็มขึ้นจากเดิมหรือไม่ ถ้าขึ้นแสดงว่าใช้ได้ โดยถ้าขึ้นสูงแสดงว่าอัตราขยายกระแสสูง (ในการวัดเพื่อเปรียบเทียบ อัตราการขยายกระแส ของทรานซิสเตอร์แต่ละตัว ควรใช้อุปกรณ์การวัดทรานซิสเตอร์ที่ให้มากับมัลติมิเตอร์ จะช่วยให้มีความเที่ยงตรงมากยิ่งขี้น)
|
2. การตรวจหาขาและชนิดของทรานซิสเตอร์ |
ในกรณีที่ไม่ทราบชนิด และไม่ทราบขา เราจะตรวจสอบได้ดังนี้ |
- ตั้งมัลติมิเตอร์ย่านวัดโอห์ม R X 10
- ตรวจสอบหาขาเบสของทรานซิสเตอร์ โดยพิจารณาทรานซิสเตอร์ในลักษณะของไดโอดดังรูปที่ 7.17
- ใช้ขาใดขาหนึ่งเป็นหลัก โดยสมมุติให้เป็นขาเบส แล้วต่อสายวัดไว้ จากนั้นใช้สายวัดอีกเส้น แตะที่ขาทั้งสองที่เหลือ ถ้ามิเตอร์ขึ้น ทั้ง 2 ครั้ง แสดงว่ามีแนวโน้มที่จะเป็นขาเบส จากนั้นให้สลับสายวัดแล้วลองทำซ้ำตามเดิมอีกครั้ง ถ้าไม่ขึ้นทั้งสองขา แสดงว่าเป็นขาเบสแน่นอน (ถ้ายังไม่ได้ให้ลองเปลี่ยนใช้ขาอื่นเป็นขาหลักแทนดูบ้าง จนกว่าจะเจอสภาพดังกล่าว คือแตะขาที่เหลือแล้วเข็มขึ้น 2 ครั้ง ไม่ขึ้น 2 ครั้ง จึงจะแสดงว่าหาขาเบสได้ ถ้าหาไม่พบแสดงว่าทรานซิสเตอร์เสีย)
- เมื่อหาขาเบสได้ก็จะรู้ชนิดของทรานซิสเตอร์คือ ถ้าในสภาวะขึ้นทั้ง 2 ขา ขั้วบวกของมิเตอร์ต่ออยู่กับขาเบส แสดงว่า เป็นทรานซิสเตอร์ PNP แต่ถ้าเป็นขั้วลบต่ออยู่ที่ขาเบสตอนเข็มมิเตอร์ขึ้น 2 ครั้ง แสดงว่าเป็นชนิด NPN
- หลังจากหาขาเบสได้แล้วให้ลองหาขาคอลเล็กเตอร์และอิมิตเตอร์ ตามหลักการไบอัสทรานซิสเตอร์ เช่นเดียวกับวิธีหาว่าทรานซิสเตอร์ดีหรือเสีย ถ้าต่อถูกต้อง เข็มจะขึ้นสูงเมื่อใช้นิ้วมือแตะระหว่างขา เบสและคอลเล็กเตอร์
|
|
การนำไปใช้งาน
|
เราสามารถนำทรานซิสเตอร์ไปใช้งานได้มากมายในวงจรทางอิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นการขยายสัญญาณ การทำหน้าที่แบบสวิตช์ ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างการใช้งานทรานซิสเตอร์เป็นวงจร สวิตช์แสงดังรูป |
|
การทำงานของวงจร คือ ในสภาวะมีแสงค่าความต้านทาน ของตัวต้านทานไวแสง(LDR) จะมีค่าต่ำมากทำให้กระแสส่วนใหญ่ไหลผ่านตัวมัน ไม่เข้าสู่ขาเบสของทรานซิสเตอร์ แต่เมื่อแสงมืดลง ค่าความต้านทานของ LDR จะมีค่าเพิ่มขึ้นจนทำให้กระแสส่วนใหญ่ไหลผ่านเบส ทำให้เกิดกระแสคอลเล็กเตอร์ และ LED จะสว่าง ส่วนตัวต้านทานปรับค่า R2 ใช้ในการปรับความไวในการรับแสงของวงจร ตัวต้านทาน R1 ใช้จำกัดกระแสที่ไหลผ่าน LED ไม่ให้มีค่าสูงเกินไป
|
ทรานซิสเตอร์ชนิดต่างๆ
|
ทรานซิสเตอร์ที่ใช้งานในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ มีหลายชนิด ดังนี้
|
- ทรานซิสเตอร์สัญญาณต่ำ (Small Signal Transistor) เป็นทรานซิสเตอร์ขนาดเล็ก ใช้ขยายสัญญาณระดับต่ำๆ หรืองานที่การจ่ายกระแสไม่สูง
- ทรานซิสเตอร์กำลัง (Power Transistor) เป็นทรานซิสเตอร์ขนาดใหญ่ ทนกระแสได้สูง มักใช้ในส่วนของภาคเอาท์พุตของวงจรขยาย หรือใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง (Power Electronics)
- ทรานซิสเตอร์ชนิดทำงานความถี่สูง ทรานซิสเตอร์ประเภทนี้จะถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในวงจรขยายสัญญาณความถี่สูงๆ เช่นในเครื่องส่ง หรือ เครื่องรับวิทยุ โดยในการผลิตจะทำให้ชิ้นสารเบสให้บางมากๆ เพื่อลงค่าความจุระหว่างรอยต่อซึ่งมีผลกับความถี่
- โฟโตทรานซิสเตอร์ (Photo Transister) เป็นทรานซิสเตอร์ที่มีช่องรับแสง โดยจะนำกระแสเมื่อมีแสงมากระทบ
|
|