สาระสำคัญ |
::: อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้า คืออุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า ในกรณีที่เกิดไฟฟ้าช๊อต ไฟฟ้าดูดหรือเกิดการลัดวงจร อาจจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้ ดังนั้นอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าจะช่วยลดอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าได้ อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ ฟิวส์, เซอร์กิตเบรกเกอร์, การต่อลงดิน และเครื่องป้องกันไฟฟ้าดูด เป็นต้น |
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม |
- อธิบายรายละเอียดของความปลอดภัยทางไฟฟ้าได้
- แยกคุณสมบัติของอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ได้
- เขียนหลักการทำงานของอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ได้
- ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าได้
- ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
|
ความปลอดภัยทางไฟฟ้า
|
อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้า คืออุปกรณ์ที่ช่วยป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า ในกรณีที่เกิดไฟฟ้าช๊อต ไฟฟ้าดูดหรือเกิดการลัดวงจร อาจจะทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้ ดังนั้นอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าจะช่วยลดอันตรายทำให้เราได้รับความปลอดภัยมากขึ้น ปัจจุบันมีกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยของ OSHA ซึ่งได้กำหนดเกี่ยวกับหน้ากากป้องกันอันตราย หมวกกันน็อค และอุปกรณ์ป้องกัน ในการทำงานต่าง ๆ โดยใช้หลักการปฏิบัติงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้าให้ถูกต้อง ตามกฎของความปลอดภัยดังนี้
|
- ตรวจซ่อมเครื่องมือตามระยะเวลาที่กำหนด ตามที่โรงงานผู้ผลิตระบุไว้
- รู้และเข้าใจคำแนะนำเกี่ยวกับความปลอดภัยที่ผู้ผลิตแนะนำไว้
- ตรวจสอบสายไฟให้อยู่ในสภาพดีเสมอ ถ้าชำรุดให้เปลี่ยนหรือซื้อใหม่
- ก่อนซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าต้องตัดไฟออกก่อนเสมอ
- ต้องใส่แว่นกันฝุ่นหรือเศษวัสดุเข้าตาในกรณีที่จำเป็น
- ชิ้นงานที่กำลังจะทำต้องยึดแน่นไม่หลุด ทำให้ได้รับอันตรายได้
- ถ้ามีเสียงดังผิดปกติให้หยุดทำงาน แล้วหาสาเหตุทันที
- เมื่อเครื่องมือไฟฟ้าชำรุดให้แยกออก แล้วเขียนป้ายแสดงให้ชัดเจน
|
ฟิวส์(Fuse)
|
ฟิวส์คืออุปกรณ์ที่ใช้สำหรับจำกัดจำนวนกระแสที่ไหลในวงจร มีลักษณะเป็นตัวนำไฟฟ้า ที่ประกอบด้วยเส้นลวดทำมาจากโลหะชนิดอ่อน บรรจุอยู่ภายในอุปกรณ์ห่อหุ้ม ซึ่งสามารถที่จะหลอมละลายและตัดวงจรได้เมื่อใช้งานไฟฟ้ามากเกินไป ฟิวส์แต่ละรุ่น จะมีการแจ้งอัตราทนกระแสกำกับไว้ อัตราทนกระแสหมายถึงปริมาณกระแสไฟฟ้าสูงสุดที่ยอมให้ไหลผ่านฟิวส์ได้
|
|
การติดตั้งฟิวส์หรือถอดเปลี่ยนฟิวส์นั้นจะต้องกระทำด้วยความระมัดระวังโดยจะต้องตัดพลังงานไฟฟ้าออกจากวงจรเสียก่อนเสมอ การถอดฟิวส์จะต้องใช้เครื่องมือสำหรับดึงฟิวส์ที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ และให้ดึงฟิวส์ทางด้านไฟออกก่อนเสมอ เมื่อต้องการจะใส่ฟิวส์ให้ใส่ฟิวส์ทางด้านโหลดก่อน แล้วจึงใส่ทางด้านไฟเข้าต่อไป ฟิวส์ที่ใช้งานกันทั่วไปแบ่งได้เป็น 3 ชนิดคือ ปลั๊กฟิวส์ (Plug Fuse) คาร์ตริดฟิวส์ (Cartridae Fuse) และเบลดฟิวส์ (Blade Fuse) ดังนี้คือ
|
ปลั๊กฟิวส์ (Plug Fuse)
|
ปลั๊กฟิวส์ คือฟิวส์ที่บรรจุอยู่ในกระบอกที่ทำด้วยกระเบื้อง เวลาใช้งานให้ติดตั้งบนฐานเกลียว มีแผ่นไส้โลหะที่ออกแบบให้ละลาย เมื่อกระแสไหลในวงจรเกินค่าที่กำหนด มีหลายแบบหลายขนาด โดยทั่วไปมีอัตราทนกระแส 0-30 แอมป์ นิยมใช้ตามอาคารบ้านเรือนทั่วไป
|
|
คาร์ตริดฟิวส์ (Cartridae Fuse)
|
คาร์ตริดฟิวส์จะทำงานคล้ายกับปลั๊กฟิวส์ แต่ต่างกันที่เวลาติดตั้งจะต้องติดตั้งบนขาหนีบสปริง คาร์ตริดฟิวส์จะติดตั้งใช้งานร่วมกับเซฟตี้สวิตช์ ทนกระแสได้ตั้งแต่ 0-60 แอมป์
|
|
เบลดฟิวส์ (Blade Fuse)
|
เบลดฟิวส์ใช้หลักการหลอดละลายตัวเมื่อมีกระแสเกิน เช่นเดียวกับฟิวส์แบบอื่นแต่จะมีอัตราทนกระแสมากกว่าฟิวส์แบบอื่นคือตั้งแต่ 70-600 แอมป์ เบลดฟิวส์จะติดตั้งบนขาหนีบสปริงมีทั้งแบบใช้ได้เพียงครั้งเดียว และแบบเปลี่ยนไส้ใหม่ได้
|
|
เซอร์กิตเบรกเกอร์
|
เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breakers) คืออุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าที่สามารถเปิดวงจรในขณะที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น โดยที่ไม่ทำให้ตัวเองขาดหรือชำรุดเหมือนฟิวส์ ถ้าเซอร์กิตเบรกเกอร์เปิดวงจร เราจะต้องหาสาเหตุ ว่าใช้งานกระแสไฟฟ้า มากเกินกว่าที่กำหนดหรือไม่ เกิดไฟดูด, ไฟรั่ว, ไฟช็อต, ไฟเกินหรือไฟตก เกิดปัญหาที่จุดใด แล้วทำการแก้ไขปัญหาในกรณีดังกล่าว หลังจากนั้นให้กดปุ่มรีเซ็ตให้วงจรไฟฟ้าทำงานใหม่ได้
์
|
|
เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบความร้อน
|
การทำงานอาศัยหลักการของแผ่นโลหะ 2 ชนิดซึ่งมีสัมประสิทธิ์การขยายตัวไม่เท่ากันมาประกบยึดติดกัน เมื่อมีกระแสไหลเกิน หรือวงจรผิดปกติโลหะจะร้อน ทำให้โก่งตัวหน้าสัมผัสของเซอร์กิตเบรกเกอร์ จะเปิดวงจรไม่ทำงาน ในช่วงที่วงจรไม่ทำงาน เราก็ควรหาสาเหตุว่าวเซอร์กิตเบรกเกอร์ ตัดเพราะอะไร แล้วทำการแก้ไขให้เรียบร้อย และเมื่อเวลาผ่านไประยะหนึ่งแผ่นโลหะจะเย็นตัวลง และจะกลับเข้าไปอยู่ในสภาพเดิมอีก สามารถรีเซ็ตให้กลับมาทำงานใหม่ได้ตามปกติ
|
|
เซอร์กิตเบรกเกอร์แบบแม่เหล็ก
|
การทำงานอาศัยหลักการของแม่เหล็กไฟฟ้า แม่เหล็กไฟฟ้าจะเกิดขึ้นจากการไหลของกระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด ในกรณีที่กระแสไฟฟ้า ผ่านขดลวดเกินพิกัด แม่เหล็กก็จะยิ่งมีอำนาจในการดูดแผ่นกระเดื่อง ตัดวงจรทำให้วงจรเปิด เมื่อแก้ไขสาเหตุของการใช้งานเกินได้แล้ว ก็ให้ทำการรีเซ็ตกระเดื่องตัดวงจร ให้อยู่ในตำแหน่งเดิม เพื่อใช้งานต่อไป
|
|
เซอร์กิตเบรกเกอร์ในยุคปัจจุบัน
|
ปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตได้ออกแบบเซอร์กิตเบรกเกอร์ให้ตัดไฟได้อย่างรวดเร็วและสามารถป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้ามากเกินกว่าที่กำหนด, ป้องกันไฟดูด, ป้องกันไฟรั่ว, ป้องกันไฟช็อต และป้องกันไฟเกินหรือไฟตกมีรูปแบบต่าง ๆให้เลือกซื้อมากมายดังรูปที่ 16.8
|
|
การต่อลงดิน
|
สายดินเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของระบบความปลอดภัยทางไฟฟ้า ซึ่งจะต้องมีเมื่อติดตั้งระบบไฟฟ้าใหม่ สายดินจะช่วยป้องกันอันตราย อันเกิดจากกระแสไฟฟ้ารั่วได้ ปกติสายดินจะมี 2 ส่วนคือสายดินของระบบใช้ป้องกันระบบไฟฟ้าทั้งหมด และสายดินของเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นส่วนที่ป้องกันอันตรายเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ สายดินของระบบมีหน้าที่ป้องกันฟ้าผ่าและไฟฟ้าแรงสูง โดยกระแสไฟฟ้าจะผ่านสายดิน ซึ่งทำด้วยตัวนำที่ดีลงสู่ดินแทน ท่อประปาที่ฝังอยู่ใต้พื้นดินอย่างต่อเนื่องจะเป็นการต่อลงดินทางไฟฟ้าที่ดีที่สุด เนื่องจากมีพื้นที่ผิวสัมผัสกับดินมาก การที่มีผิวสัมผัสมากจะเป็นการช่วยลดความต้านทาน และทำให้กระแสไฟฟ้าส่วนที่ไม่ต้องการไหลลงสู่พื้นดินได้ง่ายขึ้น
์
|
|
กราวด์ร็อดมักใช้แท่งทองแดงที่มีความต้านทานมากกว่า 25 โอห์มต่อลงดิน ส่วนการต่อเครื่องใช้ไฟฟ้าลงดินเป็นการป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าภายในบ้าน รูปที่ 16.10 เป็นการแสดงให้เห็นการไหลของกระแสไฟฟ้า เมื่อใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่ได้ต่อลงดิน ส่วนรูปที่ 16.11 เป็นการแสดงให้เห็นว่าเมื่อบุคคลมาแตะกับเครื่องใช้ไฟฟ้าจะปลอดภัย การต่อสายดินจะทำให้ไม่เกิดอันตรายกับบุคคล กระแสไฟฟ้าจะลงสู่ดินแทน |
|
|