ชมรมช่างซ่อมโน๊ตบุ๊ค แหล่งรวมความรู้ งานซ่อมโน๊ตบุ๊ค โหลดไบออส โหลดวงจร เรียนซ่อมโน๊ตบุ๊ค สอนซ่อมโน๊ตบุ๊ค

 ลืมรหัสผ่าน
 สมัครสมาชิก
ค้นหา
ดู: 7499|ตอบกลับ: 31

[อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์] สำหรับผู้ที่เริ่มต้นการอ่านและวัดค่า R

  [คัดลอกลิงก์]
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย aps_elec เมื่อ 2012-11-17 14:49

ตัวต้านทาน (Resistor) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า นิยมนำมาประกอบในวงจรทางด้านไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วไป ตัวต้านทานที่ต่ออยู่ในวงจรไฟฟ้า ทำหน้าที่ลดแรงดัน และจำกัดการไหลของกระแสไฟฟ้าในวงจร ตัวต้านทานมีรูปแบบและขนาดแตกต่างกันตามลักษณะของการใช้งาน นอกจากนี้ยังแบ่งออกเป็นชนิดค่าคงที่และชนิดปรับค่าได้
สัญลักษณ์ของตัวต้านทานที่ใช้ในการเขียนวงจรมีอยู่หลายแบบดังรูป

pic1.jpg

การวัดค่าความต้านทานของตัวต้านทาน

การวัดตัวต้านทานนั้น ก่อนการวัดค่าทุกครั้ง ต้องทำการปรับแต่งโอห์มมิเตอร์ให้พร้อมใช้งาน โดยชอร์ตปลายเข็มวัดของโอห์มมิเตอร์เข้าด้วยกัน และทำการปรับแต่งปุ่มปรับ 0 ADJ. ที่หน้าปัดมิเตอร์ ให้เข็มชี้ของมิเตอร์เคลื่อนไปชี้ที่ตำแหน่ง 0 พอดี ที่สเกลโอห์มและการเปลี่ยนย่านวัดของโอห์มมิเตอร์ทุกย่าน จะต้องทำการปรับแต่งโอห์มมิเตอร์ใหม่ทุกครั้ง
เมื่อปรับแต่งโอห์มมิเตอร์พร้อมใช้งานเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถนำโอห์มมิเตอร์ไปวัดความต้านทานได้ตามต้องการ

resistor1_new1.jpg
การปรับแต่งโอห์มมิเตอร์ก่อนใช้งาน
resistor2_new1.jpg


                                                       การวัดตัวต้านทานด้วยโอห์มมิเตอร์


ถ้าตัวต้านทานที่จะนำมาวัดเป็นชนิดค่าคงที่ ซึ่งก่อนการวัดค่าจะต้องทำการอ่านค่าความต้านทานที่บอกไว้อาจเป็นรหัสสี หรือตัวเลขกำกับไว้ เมื่อทราบค่าแล้ว ก็ตั้งโอห์มมิเตอร์ในย่านใกล้เคียงที่จะวัดได้ เช่น ตัวต้านทานมีค่า 5,000 ก็ตั้งโอห์มมิเตอร์ที่ย่าน Rx100 หรือตัวต้านทานที่ค่า 250k ก็ตั้งโอห์มมิเตอร์ที่ย่าน Rx10k เป็นต้น และอย่าลืมปรับแต่งโอห์มมิเตอร์ก่อนการใช้งานทุกครั้ง จึงจะนำเข็มวัดของมิเตอร์ไปวัดค่าตัวต้านทานนั้น ๆ ได้ การอ่านค่าความต้านทานให้อ่านที่สเกลโอห์ม ( ) ที่หน้าปัดมิเตอร์ค่าที่อ่านได้เท่าไร นำมาคูณเข้ากับย่านที่ตั้งวัดของโอห์มมิเตอร์ เช่น ตั้งย่านวัดโอห์มมิเตอร์ไว้ที่ Rx100 เข็มมิเตอร์ชี้หน้าปัดมิเตอร์ที่เลข 8 จะอ่านค่าความต้านทานของตัวต้านทานได้เท่ากับ 800 W (8x100=800 ) หรือตั้งย่านวัดโอห์มมิเตอร์ไว้ที่ Rx10k เข็มมิเตอร์ชี้หน้าปัดมิเตอร์ที่เลข 50 จะอ่านค่าความต้านทานของตัวต้านทานได้เท่ากับ 500k W (50x10k=500k ) เป็นต้น
        

คะแนน

จำนวนผู้เข้าร่วม 1แต้มดาวน์โหลด +1000 ย่อ เหตุผล
admin + 1000 เนื้อหาดีมีสาระ.

ดูบันทึกคะแนน

 เจ้าของ| โพสต์ 17-11-2012 14:22:12 | ดูโพสต์ทั้งหมด
แก้ไขครั้งสุดท้ายโดย aps_elec เมื่อ 2012-11-17 14:49

ข้อควรระวัง
1. การใช้โอห์มมิเตอร์วัดตัวต้านทาน ไม่ควรทำการวัดขณะที่ตัวต้านทานยังมีแรงดันตกคร่อมอยู่ เพราะจะทำให้โอห์มมิเตอร์เสียได้ และการวัดตัวต้านทานในวงจร ถึงแม้ว่าสามารถอ่านค่าได้แต่ค่าที่อ่านได้อาจไม่ถูกต้อง เพราะตัวต้านทานอาจจะต่อร่วมกับอุปกรณ์ตัวอื่น ๆ อีก ดังนั้นถ้าจะวัดตัวต้านทานในวงจรจำเป็นต้องปลดตัวต้านทานนั้นออกจากวงจรขาหนึ่งก่อนทำการวัดด้วยโอห์มมิเตอร์
2. การใช้โอห์มมิเตอร์ตั้งแต่ย่าน Rx1k ขึ้นไป (Rx1k, Rx10k) ตรวจวัดตัวต้านทาน หรืออุปกรณ์อื่น ๆ ห้ามใช้มือของผู้วัดจับปลายเข็มวัดทั้งสองสายของโอห์มมิเตอร์ด้วยมือทั้งสองข้าง เพราะเข็มมิเตอร์จะกระดิกขึ้น เนื่องจากมีกระแสจากโอห์มมิเตอร์ไหลผ่านตัวผู้วัด ทำให้การวัดค่าผิดพลาด แต่ถ้าจับปลายเข็มวัดสายเดียวด้วยมือข้างเดียวไม่เป็นไร
3. อาการเสียของตัวต้านทาน ถ้าเป็นตัวต้านทานคงที่จะพบบ่อยคือความต้านทานยืดค่าหรือขาด ถ้าเป็นตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ที่พบบ่อยคือปรับค่าความต้านทานแล้วสะดุดบางช่วงและขาด หากเป็นตัวต้านทานปรับค่าแบบคาร์บอนอาการดังกล่าวอาจเกิดจากการสึกกร่อนของผงคาร์บอนที่ฉาบไว้ และหากเป็นตัวต้านทานปรับค่าได้แบบไวร์วาวน์ อาการดังกล่าวจะเกิดจากการขาดของขดลวดที่พันไว้บางจุด
4. การเปลี่ยนตัวต้านทาน ควรจะเปลี่ยนตัวต้านทานให้มีทั้งค่าความต้านทาน และค่าทนกำลังไฟฟ้าเท่าเดิม ไม่ควรใช้ค่ามากกว่าหรือน้อยกว่าเดิมเพราะอาจจะทำให้ตัวต้านทานนั้นไม่ทนทาน หรืออาจทำให้วงจรนั้น ๆ ทำงานผิดพลาด จนอาจส่งผลให้อุปกรณ์ตัวอื่น ๆ ชำรุดเสียหายได้

พอดีไปเจอมาเผื่อมีประโยชน์กับเพื่อนช่างที่กำลังเริ่มต้นกับงานซ่อม

 เจ้าของ| โพสต์ 17-11-2012 15:02:47 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ชนิดของตัวต้านทาน
ตัวต้านทานที่ผลิตออกมาในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด ในกรณีที่แบ่งโดยยึดเอาค่าความต้านทานเป็นหลักจะแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ
1 ตัวต้านทานแบบค่าคงที่
2 ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้

3 ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้
           
               ตัวต้านทานแบบค่าคงที่
ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่มีหลายประเภท ที่นิยมในการนำมาประกอบใช้ในวงจรทางด้านอิเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไปมีดังนี้
1. ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนผสม (Carbon Composition)
2. ตัวต้านทานแบบฟิล์มโลหะ ( Metal Film)
3. ตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน ( Carbon Film)
4. ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ (Wire Wound)
5. ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนา ( Thick Film Network)
6. ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มบาง ( Thin Film Network)


       ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนผสม (Carbon Composition)
เป็นตัวต้านทานที่นิยมใช้กันแพร่หลายมาก มีราคาถูก โครงสร้างทำมาจากวัสดุที่มีคุณสมบัติเป็นตัวต้านทานผสมกันระหว่างผงคาร์บอนและผงของฉนวน อัตราส่วนผสมของวัสดุทั้งสองชนิดนี้จะทำให้ค่าความต้ายทานมีค่ามากน้อยเปลี่ยนแปลงได้ตามต้องการ บริเวณปลายทั้งสองด้านของตัวต้านทานต่อด้วยลวดตัวนำ บริเวณด้านนอกของตัวต้านทานจะฉาบด้วยฉนวน

pic2_new.jpg
แสดงตัวต้านทานชนิดคาร์บอนผสม
 เจ้าของ| โพสต์ 17-11-2012 15:03:52 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ตัวต้านทานแบบฟิล์มโลหะ ( Metal Film)
ตัวต้านทานแบบฟิล์มโลหะทำมาจากแผ่นฟิล์มบางของแก้วและโลหะหลอมเข้าด้วยกันแล้วนำไปเคลือบที่เซรามิค ทำเป็นรูปทรงกระบอก แล้วตัดแผ่นฟิล์มที่เคลือบออกให้ได้ค่าความต้านทานตามที่ต้องการ ขั้นตอนสุดท้ายจะทำการเคลือบด้วยสารอีป๊อกซี (Epoxy) ตัวต้านทานชนิดนี้มีค่าความผิดพลาดบวกลบ 0.1% ถึงประมาณบวกลบ 2% ซึ่งถือว่ามีค่าความผิดพลาดน้อยมาก นอกจากนี้ยังทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจากภายนอกได้ดี สัญญาณรบกวนน้อยเมื่อเทียบกับตัวต้านทานชนิดอื่น ๆ
แสดงตัวต้านทานแบบฟิล์มโลหะ
ตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน ( Carbon Film)
ตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน เป็นตัวต้านทานแบบค่าคงที่โดยการฉาบผงคาร์บอนลงบนแท่งเซรามิคซึ่งเป็นฉนวน หลังจากที่ทำการเคลือบแล้วจะตัดฟิล์มเป็นวงแหวนเหมือนเกลียวน๊อต ในกรณีที่เคลือบฟิลม์คาร์บอนในปริมาณน้อยจะทำให้ได้ค่าความต้านทานสูง แต่ถ้าเพิ่มฟิล์มคาร์บอนในปริมาณมากขึ้นจะทำให้ได้ค่าความต้านทานต่ำ ตัวต้านทานแบบฟิลืมโลหะมีค่าความผิดพลาด บวกลบ 5% ถึง บวกลบ 20% ทนกำลังวัตต์ตั้งแต่ 1/8 วัตต์ ถึง 2 วัตต์ มีค่าความต้านทานตั้งแต่ 1 ถึง 100M
แสดงตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน
ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ (Wire Wound)
โครงสร้างของตัวต้านทานแบบนี้เกิดจากการใช้ลวดพันลงบนเส้นลวดแกนเซรามิค หลังจากนั้นต่อลวดตัวนำด้านหัวและท้ายของเส้นลวดที่พัน ส่วนค่าความต้านทานขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ทำเป็นลวดตัวนำ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของแกนเซรามิคและความยาวของลวดตัวนำ ขั้นตอนสุดท้ายจะเคลือบด้วยสารประเภทเซรามิคบริเวณรอบนอกอีกครั้งหนึ่ง ค่าความต้านทานของตัวต้านทานแบบนี้จะมีค่าต่ำเพราะต้องการให้มีกระแสไหลได้สูง ทนความร้อนได้ดี สามารถระบายความร้อนโดยใช้อากาศถ่ายเท
( ข ) การติดตั้งแนวนอน
( ค) ประเภททนกำลังวัตต์ได้สูง
(ก)การติดตั้งแนวตั้ง เพื่อระบายความร้อน
( ง) ประเภทเซอรามิคไวร์วาวด์
( จ ) ประเภทอลูมิเนียมไวร์วาวด์
แสดงตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ชนิดต่าง ๆ
 เจ้าของ| โพสต์ 17-11-2012 15:07:12 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนา ( Thick Film Network)
โครงสร้างของตัวต้านทานแบบนี้ทำมาจากแผ่นฟิล์มหนา มีรูปแบบแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการใช้งาน ในรูปที่ 6 แสดงตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนาประเภทไร้ขา (Chip Resistor) ตัวต้านทานแบบนี้ต้องใช้เทคโนโลยี SMT (Surface Mount Technology) ในการผลิต มีอัตราทนกำลังประมาณ 0.063 วัตต์ ถึง 500 วัตต์ ค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 1% ถึง บวกลบ 5%
( ก ) ตัวต้านทานแบบชิพ
( ข ) ตัวต้านทานแบบเน็ทเวอร์ค
( ค) ตัวต้านทานแบบไร้ขา
( ง) ตัวต้านทานแบบดิพไอซี
แสดงตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนาชนิดต่าง ๆ
ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มบาง ( Thin Film Network)
โครงสร้างของตัวต้านทานแบบนี้ทำมาจากแผ่นฟิล์มบาง มีลักษณะรูปร่างเหมือนกับตัวไอซี (Integrate Circuit) ใช้เทคโนโลยี SMT (Surface Mount Technology) ในการผลิตเช่นเดียวกับตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนา โดยส่วนใหญ่จะมีขาทั้งหมด 16 ขา การใช้งานต้องบัดกรีเข้ากับแผ่นลายวงจร อัตราทนกำลัง 50 มิลลิวัตต์ มีค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 0.1% และอัตราทนกำลัง 100 มิลลิวัตต์ จะมีค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 5% ที่แรงดันไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 50 VDC
แสดงรูปร่างและสัญลักษณ์ของตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มบาง
ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้
โครงสร้างของตัวต้านทานแบบนี้ทำมาจากแผ่นฟิล์มบาง มีลักษณะรูปร่างเหมือนกับตัวไอซี (Integrate Circuit) ใช้เทคโนโลยี SMT (Surface Mount Technology) ในการผลิตเช่นเดียวกับตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนา โดยส่วนใหญ่จะมีขาทั้งหมด 16 ขา การใช้งานต้องบัดกรีเข้ากับแผ่นลายวงจร อัตราทนกำลัง 50 มิลลิวัตต์ มีค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 0.1% และอัตราทนกำลัง 100 มิลลิวัตต์ จะมีค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบ 5% ที่แรงดันไฟฟ้าสูงสุดไม่เกิน 50 VDC
แสดงลักษณะรูปร่างของตัวต้านทานแบบปรับค่าได้
ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้
ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้ (Variable Resistor) โครงสร้างภายในทำมาจากคาร์บอนเซรามิค หรือพลาสติกตัวนำ ใช้ในงานที่ต้องการเปลี่ยนค่าความต้านทานบ่อย ๆ เช่น ในเครื่องรับวิทยุ, โทรทัศน์ เพื่อปรับลดหรือเพิ่มเสียง, ปรับลดหรือเพิ่มแสงในวงจรหรี่ไฟ มีอยู่หลายแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่น โพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer) หรือพอต (Pot) สำหรับชนิดที่มีแกนเลื่อนค่าความต้านทานหรือแบบที่มีแกนหมุนเปลี่ยนค่าความต้านทานคือโวลลุ่ม (Volume) เพิ่มหรือลดเสียงมีหลายแบบให้เลือกคือ 1 ชั้น, 2 ชั้น และ 3 ชั้น เป็นต้น ส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นแบบที่ไม่มีแกนปรับโดยทั่วไปจะเรียกว่า โวลลุ่มเกือกม้า หรือทิมพอต (Trimpot)
แสดงลักษณะรูปร่างของตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้




)



 เจ้าของ| โพสต์ 17-11-2012 15:08:43 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้นี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ด้วยกัน คือ โพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer) และเซนเซอร์รีซิสเตอร์ (Sensor Resistor)
โพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer)
โพเทนชิโอมิเตอร์หรือพอต (Pot) คือตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าได้ในวงจรต่าง ๆ โครงสร้างส่วนใหญ่จะใช้วัสดุประเภทคาร์บอนผสมกับเซรามิคและเรซินวางบนฉนวน ส่วนแกนหมุนขากลางใช้โลหะที่มีการยืดหยุ่นตัวได้ดี โดยทั่วไปจะเรียกว่าโวลลุ่มหรือ VR (Variable Resistor) มีหลายแบบที่นิยมใชในปัจจุบันคือแบบ A, B และ C

(ก)
((ข)
(ค)
(ง)
แสดงลักษณะรูปร่างและสัญลักษณ์ของโพเทนชิโอมิเตอร์และรีโอสตาท
จากรูปที่ 10 ( ก) จะเห็นว่าโพเทนชิโอมิเตอร์มี 3 ขา ขาที่ 1 และ 2 จะมีค่าคงที่ส่วนขาที่ 3 เปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามที่ต้องการ ส่วนรีโอสตาทนั้นจะมี 2 ขา ตามรูปที่ 10 ( ข) แต่ในกรณีที่ต้องการต่อโพเทนชิโอมิเตอร์ให้เป็นรีโอสตาทก็ทำได้โดยการต่อขาที่ 3 เข้ากับขาที่ 2 ก็จะกลายเป็นรีโอสตาทตามรูปที่ 10 (ค) ส่วนรูปที่ 10 (ง) แสดงโครงสร้างทั่ว ๆ ไปของโพเทนชิโอมิเตอร์
อีกชนิดหนึ่งคือจำพวกฟิล์มคาร์บอนใช้วิธีการฉาบหรือพ่นฟิล์มคาร์บอนลงในสารที่มีโครงสร้างแบบเฟโนลิค (Phenolic) ส่วนแกนหมุนจะใช้โลหะประเภทที่ใช้ทำสปริงเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น VR 100 KA หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานต่อการหมุนในลักษณะของลอกการิทึม (Logarithmic) หรือแบบล็อกคือหมุนค่าความต้านทานจะค่อย ๆ เปลี่ยนค่า พอถึงระดับกลางค่าความต้านทานจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนิยมใช้เป็นโวลลุ่มเร่งความดังของเสียง ส่วนแบบ B นั้นค่าความต้านทานจะเปลี่ยนไปในลักษณะแบบลิเนีย (Linear) หรือเชิงเส้นคือค่าความต้านทานเพิ่มขึ้นตามการหมุนที่เพิ่มขึ้น ส่วนมากนิยมใช้ในวงจรชุดควบคุมความทุ้มแหลมและวงจรแบ่งแรงดัน
แสดงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานแบบ A และแบบ B
แสดงลักษณะรูปร่างของรีโอสตาทแบบต่าง ๆ ที่มีอัตราทนกำลังวัตต์สูง
ตัวต้านทานแบบโพเทนชิโอมิเตอร์อีกประเภทหนึ่งคือ ตัวต้านทานแบบปรับละเอียด (Trimmer Potentiometers) ตัวต้านทานแบบนี้ส่วนมากมักใช้ประกอบในวงจรประเภทเครื่องมือวัดและทดสอบ เพราะสามารถปรับหมุนเพื่อต้องการเปลี่ยนค่าความต้านทานได้ทีละน้อยและสามารถหมุนได้ 15 รอบหรือมากกว่า ซึ่งเมื่อเทียบกับโพเทนชิโอมิเตอร์แบบที่ใช้ในเครื่องรับวิทยุและเครื่องเสียง ซึ่งจะหมุนได้ไม่ถึง 1 รอบก็จะทำให้ค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
แสดงลักษณะของตัวต้านทานแบบโพเทนชิโอมิเตอร์แบบปรับละเอียด
 เจ้าของ| โพสต์ 17-11-2012 15:09:34 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ตัวต้านทานชนิดพิเศษ
ตัวต้านทานชนิดพิเศษ เป็นตัวต้านทานที่มีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างจากตัวต้านทานทั่ว ๆ ไป เช่น ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิ ใช้เป็นสวิตช์เปิดปิดไฟด้วยแสง ฯลฯ เป็นต้น
แอลดีอาร์ (LDR : Light Dependent Resistor)
LDR คือตัวต้านทานชนิดที่มีความไวต่อแสงมาก บางครั้งเรียกว่าตัวต้านทานแบบโฟโต้คอนดัคตีฟเซล (Photoconductive Cell) หรือโฟโต้เซล โครงสร้างภายในโดยทั่วไปจะทำด้วยสารแคดเมีมซัลไฟต์ (Cadmium Sulfide) หรือแคดเมียมเซลีไนต์ (Cadmium Selenide) มึความเข้มของแสงระหว่าง 4,000 A (Blue Light) ถึง 10,000 A (Infrared) 1 A เท่ากับ M Light
แสดงรูปลักษณะโครงสร้างและสัญลักษณ์ของตัวแอลดีอาร์
แสดงค่าความต้านทานตามความเข้มของแสง
แสดงการหาค่าความต้านทานและความสัมพันธ์กับแสงของ LDR
เมื่อมีแสงมาตกกระทบที่ LDR จะทำให้ค่าความต้านทานภายในตัว LDR ลดลง จะลดลงมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแสงที่ตกกระทบ ในกรณีที่ไม่มีแสงหรืออยู่ในตำแหน่งที่มืดค่าความต้านทานภายในตัว LDR จะมีค่าเพิ่มมากขึ้นตามรูปที่ 2.16 การทดสอบ LDR อย่างง่าย ๆ คือต่อสายมิเตอร์เข้ากับ LDR ตั้งย่านวัดโอห์ม หาอุปกรณ์ให้แสงสว่างเช่นไฟฉายหรือหลอดไฟ โดยให้แสงตกกระทบที่ตัว LDR ตรงด้านหน้า แล้วสังเกตุค่าความต้านทานจากมิเตอร์จะมีค่าลดลง ถ้ามีอุปกรณ์ไปบังแสงทำให้มืดค่าความต้านทานจะเพิ่มขึ้น
โพสต์ 17-11-2012 16:24:11 | ดูโพสต์ทั้งหมด
ขยันจริงๆท่านอ้อ {:124:}

แสดงความคิดเห็น

พอดีไปเจอมา และอยากทำประโยชน์ให้กับทางชมรมบ้าง ครับ  โพสต์ 17-11-2012 17:08
 เจ้าของ| โพสต์ 17-11-2012 17:09:06 | ดูโพสต์ทั้งหมด
หน่วยของความต้านทาน
หน่วยของความต้านทานวัดเป็นหน่วย " โอห์ม" เขียนแทนด้วยอักษรกรีกคือตัว " โอเมก้า " ( ) ค่าความต้านทาน 1 โอห์มหมายถึงการป้อนแรงดันไฟฟ้าขนาด 1 โวลท์ ไหลผ่านตัวต้านทานแล้วมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน 1 แอมแปร์
 เจ้าของ| โพสต์ 17-11-2012 17:11:00 | ดูโพสต์ทั้งหมด
การอ่านค่าความต้านทาน
ค่าความต้านทานโดยส่วนใหญ่จะใช้รหัสแถบสีหรืออาจจะพิมพ์ค่าติดไว้บนตัวต้านทาน ถ้าเป็นการพิมพ์ค่าติดไว้บนตัวต้านทานมักจะเป็นตัวต้านทานที่มีอัตราทนกำลังวัตต์สูง ส่วนตัวต้านทานที่มีอัตราทนกำลังวัตต์ต่ำมักจะใช้รหัสแถบสี ที่นิยมใช้มี 4 แถบสีและ 5 แถบสี
รหัสสีค่าความต้านทาน

ตารางที่ 1 แสดงรหัสแถบสีจากตัวต้านทานแบบ 4 แถบสี
รหัสสี
(Color Code)
แถบสีที่ 1
ตำแหน่ง 1
แถบสีที่ 2
ตำแหน่ง 2
แถบสีที่ 3
ตัวคูณ
แถบสีที่ 4
เปอร์เซ็นต์ผิดพลาด
ดำ 0 0 1 20%(M)
น้ำตาล 1 1 10 1%(F)
แดง 2 2 100 2%(G)
ส้ม 3 3 1,000 -
เหลือง 4 4 10,000 -
เขียว 5 5 100,000 0.5%(D)
น้ำเงิน 6 6 1,000,000 0.25%(C)
ม่วง 7 7 - 0.1%(B)
เทา 8 8 - 0.05%(A)
ขาว 9 9 - -
ทอง - - 0.1 5%(J)
เงิน - - 0.01 10%(K)
การอ่านค่ารหัสแถบสี สำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาอาจจะมีปัญหาเรื่องของแถบสีที่ 1 และแถบสีที่ 4 ว่าแถบสีใดคือแถบสีเริ่มต้น ให้ใช้หลักในการพิจารณาแถบสีที่ 1,2 และ 3 จะมีระยะห่างของช่องไฟเท่ากัน ส่วนแถบสีที่ 4 จะมีระยะห่างของช่องไฟมากกว่าเล็กน้อย
ตัวอย่างที่ 1 ตัวต้านทานมีรหัสแถบสี ส้ม แดง น้ำตาล และทอง มีความต้านทานกี่โอห์ม ?
แถบสีที่ 1 2 3 4
สี ส้ม แดง น้ำตาล ทอง
ค่า 3 2 X 10 5 %
อ่านค่ารหัสแถบสีได้ 320
ตัวต้านทานนี้มีความต้านทาน 320 ค่าผิดพลาด 5 เปอร์เซ็นต์
ตารางที่ 2 แสดงรหัสแถบสีจากตัวต้านทานแบบ 5 แถบสี
รหัสสี
(Color Code)
แถบสีที่ 1
ตำแหน่ง 1
แถบสีที่ 2
ตำแหน่ง 2
แถบสีที่ 3
ตำแหน่ง 3
แถบสีที่ 4
ตัวคูณ ตัวเติม 0
แถบสีที่ 5
เปอร์เซ็นต์ ผิดพลาด
ดำ 0 0 0 1 20%(M)
น้ำตาล 1 1 1 10 1%(F)
แดง 2 2 2 100 2%(G)
ส้ม 3 3 3 1,000 -
เหลือง 4 4 4 10,000 -
เขียว 5 5 5 100,000 0.5%(D)
น้ำเงิน 6 6 6 1,000,000 0.25%(C)
ม่วง 7 7 7 - 0.1%(B)
เทา 8 8 8 - 0.05%(A)
ขาว 9 9 9 - -
ทอง - - - 0.1 5%(J)
เงิน - - - 0.01 10%(K)
ตัวอย่างที่ 2 ตัวต้านทานมีรหัสแถบสี เหลือง เทา แดง ส้ม และน้ำตาล มีความต้านทานกี่โอห์ม ?
แถบสีที่ 1 2 3 4 5
สี เหลือง เทา แดง ส้ม น้ำตาล
ค่า 4 8 2 X 1,000 1 %
อ่านค่ารหัสแถบสีได้ 482,000
ตัวต้านทานนี้มีความต้านทาน482 K ค่าผิดพลาด 1 เปอร์เซ็นต์

ขออภัย! คุณไม่ได้รับสิทธิ์ในการดำเนินการในส่วนนี้ กรุณาเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง ลงชื่อเข้าใช้ | สมัครสมาชิก

รายละเอียดเครดิต

ปิด

แจ้งข่าวก่อนหน้า /1 ต่อไป

รายชื่อผู้กระทำผิด|Mobile|รูปแบบข้อความล้วน|NBFIX

GMT+7, 15-1-2025 19:50 , Processed in 0.062939 second(s), 22 queries .

Powered by Discuz! X3.4 R20180101, Rev.59

© 2001-2017 Comsenz Inc.

ตอบกระทู้ ขึ้นไปด้านบน ไปที่หน้ารายการกระทู้