|
การอ่านค่าความจุของคาปาซิเตอร์
หน่วยความจุของคาปาซิเตอร์
คาปาซิเตอร์มีหน่วยเป็น ฟารัด (F) ไมโครฟารัด (uF) หรือ MFD และ นาโนฟารัด (nF)
ดังนั้น
1 F = 1,000,000 uF
1 uF = 1,000 nF
1 nF = 1,000 pF
การอ่านค่าความจุของคาปาซิเตอร์
ตัวเก็บประจุจะบอกลักษณะอยู่ทั้งหมด 3 แบบ คือ
1. บอกเป็นตัวเลขค่าความจุ
2. บอกเป็นตัวเลข
3. บอกเป็นแถบสี
การอ่านแบบที่บอกเป็นตัวเลข
คาปาซิเตอร์ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีความจุสูง และบอกอัตราทนแรงดันไฟฟ้าสูงสุดมาด้วย
จากรูปสามารถอ่านได้
1500 ไมโครฟารัด
ทนแรงดันสูงสุดที่ 35 โวลท์
ตัวที่ 1 สามารถอ่านได้10 ไมโครฟารัด ทนแรงดันสูงสุดที่ 100 โวลท์
ตัวที่ 2 สามารถอ่านได้ 10 ไมโครฟารัด ทนแรงดันสูงสุดที่ 250 โวลท์
การอ่านแบบที่บอกเป็นตัวเลข
ค่า ของตัวเก็บประจุปกติมี 2 หน่วยด้วยกันคือ หน่วยไมโครฟารัด (uF) กับพิโกฟารัด (pF) ซึ่งการอ่านค่าวิธีนี้ในบางครั้ง ผู้ผลิตอาจบอกค่าความจุแต่เพียงตัวเลขอย่างเดียว ส่วนหน่วยนั้นเขาละกันเอาไว้ในฐานที่เข้าใจกัน
การบอกค่าแบบเป็นตัวเลขมีค่าน้อยกว่า 1 (ค่าที่พิมพ์บนตัวเก็บประจุ) ค่าที่อ่านได้ก็จะมีหน่วยเป็นไมโครฟารัด (uF) เช่น 0.1 หมายถึง 0.1 ไมโครฟารัด
การอ่านค่าแบบเป็นตัวเลขมีค่ามากกว่า 1 ค่าที่อ่านได้ก็จะมีหน่วยเป็นพิโกฟารัด (pF) เช่น 20 หมายถึง 20 พิโกฟารัด
ยก เว้นในกรณีที่มีหน่วยตามหลังเช่น 10uF ค่าที่อ่านได้เท่ากับ 10 ไมโครฟารัด และตัวเลขที่บอกค่าเกิน 2 หลัก เช่น 101 ไม่เท่ากับ 101 พิโกฟารัด แต่เราจะอ่านค่าโดยการแปรรหัสดังที่จะนำมากล่าวต่อไป
คาปาซิเตอร์ ชนิดนี้จะบอกเป็นตัวเลขมา 3 ตำแหน่งด้วยกัน โดยที่ ตัวที่หนึ่งจะเป็นตัวตั้งหลักที่หนึ่ง ตัวที่สองจะเป็นตัวตั้งหลักที่สอง และตัวเลขตัวที่สามจะเป็นตัวเติมเลขศูนย์ลงไป(หรือตัวคูณก็ได้) หน่วยที่ได้จะเป็นพิโกฟารัด เสมอ
ยกตัวอย่าง
1 0 และเติมศูนย์อีกสองตัว
จะได้
1000 pF หรือ 1 nF(หารด้วย1,000) หรือ 0.001 uF (หารด้วย 1,000,000)
อ่านได้ 100 pF
อ่านได้
150000 pF
150 nF
0.15 uF
| ภาพนี้ได้ถูกเปลี่ยนขนาด ขนาดต้นฉบับคือ 786x495 and weighs 68KB ต้องการดูภาพเต็มขนาดคลิกที่นี่... |
การอ่านค่า C แบบรวดเร็ว
หลักที่ 1 และ 2 เป็นตัวตั้ง
หลักที่ 3 เป็นตัวคูณ
หลักที่ 4 เป็นค่าความผิดพลาด เช่น K , H , J
กรณีหลักที่สาม คือ ตัวคูณ มีรายละเอียดดังนี้
หลักที่สามเป็น 0 ค่าตัวคูณ คือ 1
หลักที่สามเป็น 1 ค่าตัวคูณ คือ 10
หลักที่สามเป็น 2 ค่าตัวคูณ คือ 100
หลักที่สามเป็น 3 ค่าตัวคูณ คือ 1,000
หลักที่สามเป็น 4 ค่าตัวคูณ คือ 10,000
หลักที่สามเป็น 5 ค่าตัวคูณ คือ 100,000
หลักที่สามเป็น 6 ค่าตัวคูณ คือ ไม่ใช้
หลักที่สามเป็น 7 ค่าตัวคูณ คือ ไม่ใช้
หลักที่สามเป็น 8 ค่าตัวคูณ คือ 0.01
หลักที่สามเป็น 9 ค่าตัวคูณ คือ 0.1
หลักที่ 4 คือ ค่าความผิดพลาด มีรายละเอียดดังนี้
D ==> +/- 0.5 pF
F ==> +/- 1%
G ==> +/- 2%
H ==> +/- 3%
J ==> +/- 5%
K ==> +/- 10%
M ==> +/- 20%
P ==> +100% ,-0%
Z ==> +80%, -20%
ตัวอย่างเช่น ตัว C มีค่า 104K
10 x 10,000 = 100,000 pF หรือ 0.1 uF และมีค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ +/- 10%
ตัวอย่างเช่น ตัว C มีค่า 103K
10 x 1,000 = 10,000 pF หรือ 0.01 uF หรือ 10 nF และมีค่าความคลาดเคลื่อนเท่ากับ +/- 10%
โดยที่…
1 micro = 1/1,000,000 ==> 1 uF
1 nano = 1/1,000,000,000 ==> 1 nF
1 pico = 1/1,000,000,000,000 ==> 1 pF
|
|