|
http://nbfix.net/discuz/forum.php?mod=viewthread&tid=1247
อันนี้เป็นการเช็คชุด 3V,5V แบบง่ายๆ ไม่รู้เคยดูบ้างหรือยัง เพราะบอกขั้นตอนการทำงานตั้งแต่เสียบ ไฟเข้าเครื่องถึงชุด 3V,5V ทำงาน
http://nbfix.net/discuz/forum.php?mod=viewthread&tid=7853
ถึงงานซ่อมน้อย ก็เปิดดูวงจรบ่อยๆก็ได้ครับ ดูแล้วเทียบ 17 สเตปเอา ทำบ่อยๆก็ได้ฝึก ทำความเข้าใจได้ครับ ถ้ามัวรองานแล้วมาเปิดดูวงจร มันก็ลืมหมดครับ
การดูสเตป Power กินกระแส ไม่เกิน 0.8 ต้องใช้ 17 Step เช็ค ไม่มีวงจรก็เช็คเบื้องต้นได้
- เช่นไฟสวิตช์มี ก็เริ่มตั้งแต่ สเตปที่ 5 (อันนี้คงไม่ต้องใช้วงจรเพื่อหาสวิตช์) ถ้าไฟสวิตช์ไม่มีก็ไล่ย้อนกลับไป ชุด 3V,5V และกลับ ที่ชุดชาร์จ
- ไฟสวิตช์มาก็ ไล่ไปสตเปที่ 6,7,8 (อาการเปิดไม่ติด ไล่หลักๆคือ 5,6,7,8 ก็จะเจอตัวเสียแล้วครับ) ซึ่งสามารถหา DataSheet ของ io ได้ด้วยกระทู้นี้ครับhttp://nbfix.net/discuz/forum.php?mod=viewthread&tid=7227
- ไม่ต้องหาวงจรตรงรุ่นแต่อย่างใดเลย ซึ่งโดยปกติ เช็คเบื้องต้น วัดไฟสวิตช์ กดแล้วมี เปลี่ยนแปลงจาก 3.3V เป็น 0 แปลว่า IO ตอบสนอง และสวิตช์ทำงานปกติ จากนั้นก็ไปเช็คไฟจากขดลวด ที่เหลือที่ไม่ใช่ชุด 3V,5V และขดขวดชุดชาร์จ ชุดใหนไม่ออกก็ดูว่า IO หรือ SB สั่งเท่านั้นเอง ไม่ต้องคิดเยอะเลยครับ ถ้าเราหัดดูวงจรบ่อยๆ แล้วตีโจทย์ ก็จะเข้า ไฟชุดใหนชิพตัวใหนควบคุม
- ส่วนการกินกระแส เกิน 0.8 ขึ้นไป ตัวเลขหลังจุดทศนิยมแค่ 1 ตัว ไม่นับตัวที่ 2 เปลี่ยน 2 ครั้งขึ้นไปไม่เกิน 4 ครั้ง ตัวเสียจะเป็น CPU,NB,RAM,BIOS
- ส่วนการกินกระแส เกิน 1.0 ขึ้นไป ตัวเลขหลังจุดทศนิยมแค่ 1 ตัว ไม่นับตัวที่ 2 เปลี่ยน 4 ครั้งขึ้นไปไม่เกิน 8 ครั้ง ตัวเสียจะเป็น NB,Bios และวงจรไฟเลี้ยง NB การกินกระแส อาจแตกต่าง ในรุ่นที่เป็น Netbook ,หรือเครื่องที่มีการ์ดจอแยกและการ์ดจอออน
- ส่วนการกินกระแส เกิน 1.2 ขึ้นไป ตัวเลขหลังจุดทศนิยมแค่ 1 ตัว ไม่นับตัวที่ 2 เปลี่ยน 5 ครั้งขึ้นไป ตัวเสียจะเป็น VGA,BIOS และวงจรไฟเลี้ยง ชิพ VGA การกินกระแส อาจแตกต่าง ในรุ่นที่เป็น Netbook ,หรือเครื่องที่มีการ์ดจอแยกและการ์ดจอออน
ด้านล่างเป็นวิธีการตรวจเช็คจาก สายตา ไม่ต้องมีวงจร เพียงแค่ฝึกสังเกตแล้วตีโจทย์เอา
- ถ้าอาการเปิดไม่ติด เราก็ควรสังเกตเช่น เสียบ Adpter เข้าไปแล้ว LED แสดงสถานะ ว่าไฟเข้ามีไฟเข้าเครื่องโชว์ขึ้นมาไหม ถ้ามี แปลว่า ชุด 3Volt ชุดแรกที่ไปเลี้ยง IO และ Bios มาแล้ว
- ลองกด ON ดูว่าออนได้ไหมสถานะ LED เปลี่ยนสีหรือไม่ (ในกรณีที่เสียบAdapter แล้วไฟแสดงสถานะขึ้นนะครับ) ถ้าไม่เปลี่ยนสี แปลว่า IO น่าจะไม่ทำงาน ไม่ส่งคำสั่ง ไป สั่ง ON SouthBridge (แปลว่า IO น่าจะเสีย)
- ถ้ากดแล้ว ไฟสถานะ เปลี่ยนสี แปลว่า IO น่าจะดี (แต่ให้ชัวร์ให้วัดไฟตามสเตป) แต่ Southbridge น่าจะเสีย
แนวทางการตรวจซ่อมแบบไม่ใช้วงจร ต้องใช้การฝึกฝน เอาบอร์ดดีกับบอร์ดเสียมาเช็ค ระหว่างกด สวิตช์ออน ไฟตรงใหนมา ตรงใหนไม่มา ซึ่ง ขยันเช็คบ่อยๆ จะสามารถ ซ่อมได้โดยไม่มีวงจรได้ โดย ฝึกวัดไฟที่ IO และ ที่ SB (วัดอุปกรณ์รอบๆ SB) อย่างเช่น IO เสีย พอกดแล้ว ไฟตรงใหน มาหรือไม่มา แล้วเราวัดเทียบกับบอร์ดดี และ วัดไฟรอบๆ SB เทียบกับบอร์ดดี
ในงานซ่อมทั้งหลาย ขึ้นอยู่กับการสังเกตความแตกต่าง การสังเกตสถานะหรือแม้กระทั้งการทำงานของอุปกรณ์ ระหว่างตอนเสียและไม่เสีย ว่ามันต่างกันอย่างไร จะทำให้เราทำงานซ่อมได้ง่ายขึ้นครับ |
|